กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ใช้ คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดยเผย แพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน พฤศจิกายน 2554 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา วัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤศจิกายน 2554
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนพฤศจิกายน 2554 เท่ากับ 122.9 สำหรับเดือนตุลาคม 2554 คือ 121.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนตุลาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เดือนพฤศจิกายน 2553 สูงขึ้นร้อยละ 7.3
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2554 กับช่วงเดียวกันปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.3
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2554 เทียบกับเดือนตุลาคม 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 0.8 (ตุลาคม สูงขึ้นร้อยละ 0.9) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 1.9 (คอนกรีตบล็อกก่อผนัง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ร้อยละ 2.8 (อิฐมอญ ทรายหยาบ-ละเอียด หินย่อย ยางมะตอย) และหมวดซีเมนต์ ร้อยละ 1.0 (ปูนซีเมนต์ผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์) เนื่องจาก มีความต้องการวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น เพื่อฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและอาคารบ้านเรือน หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในบางจังหวัดเริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะ ปกติแล้ว และขณะเดียวกันแหล่งผลิตในบางจังหวัดยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ตุ้นทุนการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าเพิ่มขึ้น ราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือน พฤศจิกายนจึงปรับตัวสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2554 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 7.3 (ตุลาคม สูงขึ้นร้อยละ 7.2) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 12.9 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กรูปพรรณ) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 9.3 (คอนกรีตบล็อกก่อผนัง-ก่อผนังมวลเบา เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 8.8 (อิฐมอญ ทราย หินย่อย ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในปี 2554 ขยายตัวมากกว่าปีที่แล้ว
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2554 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.3 สาเหตุจากการ สูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 11.6 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสีเหล็ก รูปพรรณ) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 11.1 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 5.4 (อิฐมอญ อิฐกลวง อลูมิเนียมเส้น-แผ่นเรียบ ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน พฤศจิกายน ปี 2554
(2548 = 100)
หมวด สัดส่วน ดัชนี อัตราเปลี่ยนแปลง น้ำหนักปีฐาน พ.ย.54 ต.ต.54 พ.ย.53 เฉลี่ย พ.ย.54/ พ.ย.54/ ม.ค.- พ.ย.54/ ต.ค.54 พ.ย.53 ม.ค.- พ.ย.53/ ดัชนีรวม 100.00 122.9 121.9 114.5 120.2 0.8 7.3 6.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.76 139.9 139.9 138.2 139.8 0.0 1.2 3.2 ซิเมนต์ 11.79 117.2 116 111.3 115.1 1.0 5.3 11.1 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 12.96 112.6 110.5 103 106.2 1.9 9.3 3.7 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 26.90 124.5 125.1 110.3 123.6 -0.5 12.9 11.6 กระเบื้อง 6.60 111.1 111.1 110.2 109.3 0.0 0.8 -1.2 วัสดุฉาบผิว 2.77 119.8 119.8 113.5 116.5 0.0 5.6 2.4 สุขภัณฑ์ 2.20 149.6 150 143.2 150 -0.3 4.5 4.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.41 114.8 113.7 112.3 113.6 1.0 2.2 3.1 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 16.60 135.5 131.8 124.5 129.2 2.8 8.8 5.4
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851