รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 4/2554 (ตุลาคม - ธันวาคม 2554) และปี 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 6, 2011 16:01 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดการณ์เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มทางบวก แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากอุทกภัยและเศรษฐกิจโลก

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 4/2554(ตุลาคม - ธันวาคม 2554) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,804 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 40.5 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 44.5 และไม่ดี ร้อยละ 15.0 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 62.7 ขณะที่การคาดการณ์ปี 2555 ดัชนีฯ มีค่า 69.7 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึง การคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจในอนาคต ไตรมาสหน้าและปีหน้ายังมีทิศทางบวก แต่ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์อุทกภัย และเศรษฐกิจโลกซึ่งยังมีความผันผวนอยู่มากทั้งสหรัฐฯ และยุโรป

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 4/2554 และปี 2555
                                      ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 4/54
การสำรวจ                            ดีขึ้น        ไม่เปลี่ยนแปลง       ลดลง     ดัชนี     ปี 55
                                    (%)            (%)           (%)     4/54
1. ผลประกอบการ                     39.4           45.2          15.4     62.0     68.6
2. ต้นทุนต่อหน่วย                      56.0           38.9           5.1     75.4     80.1
3. การจ้างงาน                       19.3           71.9           8.8     55.3     58.5
4. การขยายกิจการ                    15.1           76.7           8.2     53.4     57.8
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q4/54
            ภาค              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี    ปี 55
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)    4/54
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล           211      40.2          42.6        17.2    61.5    63.5
2. ภาคกลาง                     241      32.2          50.6        17.2    57.5    67.9
3. ภาคเหนือ                     428      44.0          42.8        13.2    65.4    71.2
4. ภาคตะวันออก                  153      31.4          51.0        17.6    56.9    65.3
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          455      42.9          44.4        12.7    65.1    72.4
6. ภาคใต้                       316      43.0          40.5        16.5    63.3    71.2
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q4/54
           สาขา              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี    ปี 55
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)    4/54
1. เกษตรกรรม                   161      34.8          45.3        19.9    57.5    66.8
2. อุตสาหกรรม                   458      35.8          47.0        17.2    59.3    66.7
3. พาณิชยกรรม                   737      37.8          49.6        12.6    62.6    68.5
4. ก่อสร้าง                       58      44.8          46.6         8.6    68.1    74.1
5. การเงินและประกันภัย             89      64.0          31.5         4.5    79.8    80.9
6. บริการ                       301      42.3          45.3        12.4    65.0    68.8
ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ ไตรมาส 3/2554

1. ภาวะธุรกิจทัวไป

ภาพรวมต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน ชะลอตัว จากปัญหาอุทกภัย เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาหนี้สาธารณะ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ไตรมาสหน้าและปีหน้าดีขึ้นจากการเมืองที่มีเสถียรภาพ

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

เกษตรกรรม ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดดีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าว ยางพารา และผลไม้

อุตสาหกรรม เศรษฐกิจโลกหดตัว เงินบาทแข็ง กระทบการส่งออก

พาณิชยกรรม มีการแข่งขันรุนแรงในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคประหยัดการใช้จ่าย

ก่อสร้าง ภาคการก่อสร้างซบเซา เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ประกอบกับต้นทุนสูงจากราคาวัตถุดิบในการก่อสร้าง

การเงิน สภาพคล่องสูง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินค่อนข้างระมัดระวัง

บริการ มีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม

          3.  ผลประกอบการของธุรกิจ        กำไรต่อหน่วยลดลงเนื่องจากปัจจัยด้านต้นทุน รวมถึงการแข่งขันธุรกิจสูงขึ้น

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ ต้นทุนประกอบการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลงและปรับราคาสูงขึ้น รวมถึงค่า

สาธารณูปโภค น้ำมันและค่าขนส่งก็ปรับสูงขึ้นเช่นกัน

          5.  การจ้างงานในธุรกิจ           ขาดแคลนแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการค่อนข้างมากและมีปัญหาการนำเข้าแรงงานต่างด้าว

6. การขยายกิจการของธุรกิจ มีการขยายตัวค่อนข้างน้อย เพราะต่างรอดูสถานการณ์และมีปัจจัยความเสี่ยงหลายด้าน

ข้อเสนอแนะ

1. เร่งผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 2555 โดยเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังภาวะน้ำท่วม

2. ภาครัฐไม่ควรทำการแทรกแซงราคาเพราะจะเกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดภาวะสินค้าขาดแคลนตามมา

3. แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้หลักความยุติธรรมและคุณธรรม

4. ต้องการให้ภาครัฐพิจารณาการขึ้นค่าแรงงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผ่านไตรภาคี เพื่อให้ธุรกิจได้มีเวลา ปรับตัว

5. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและโลจิสติกส์ระบบราง

6. ควบคุมราคาสินค้าทีจำเป็นแก่การครองชีพ และส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าไทย

7. สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและย่อมในเรื่องสภาพคล่อง การบริหารจัดการ และตลาด

8. ส่งเสริมการท่องเทียว มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมโดย เน้นประเพณีและวัฒนธรรม

9. จัดการเรื่องนำอย่างเป็นระบบ พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยสนับสนุนการทำปะการังเทียมเพื่อผลประโยชน์ต่อการประมงในอนาคต

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี จำนวน

211 ราย

          ภาคกลาง           13 จังหวัด  ได้แก่  สระบุรี  พระนครศรีอยุธยา  ราชบุรี  ลพบุรี  เพชรบุรี   กาญจนบุรี   สิงห์บุรี

สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก

จำนวน 241 ราย

          ภาคเหนือ           17 จังหวัด  ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์  อุตรดิตถ์

ลำพูน น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ กำแพงเพชร

จำนวน 428 ราย

          ภาคตะวันออก        7  จังหวัด  ได้แก่  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี  ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว

จำนวน 153 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี

ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู เลย

อำนาจเจริญ และ มหาสารคาม จำนวน 455 ราย

          ภาคใต้             14 จังหวัด  ได้แก่  สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา  ชุมพร

พังงา ระนอง สตูล พัทลุง และปัตตานี จำนวน 316 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ ( ไตรมาสที่ 3/2554 ระหว่างเดือนกรกฏาคม -กันยายน 2554) ทำการสำรวจในเดือนกันยายน 2554 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,807 ชุด มีแบบเสีย 3 ชุด คิดเป็นร้อยละ 0.2 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,804 ชุด การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 3/2554 ได้ทำการประมวลผลในวันที่20 ตุลาคม 2554 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

             ถ้าตอบว่า        ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้น          จะให้คะแนนเท่ากับ1
             ถ้าตอบว่า        ไม่เปลี่ยนแปลง          จะให้คะแนนเท่ากับ0.5
             ถ้าตอบว่า        ไม่ดีหรือลดลง           จะให้คะแนนเท่ากับ0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0 การอ่านค่าดัชนี

             ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น          100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี
             ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น           50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง
             ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น            0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ