กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ ใช้คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดย เผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ธันวาคม 2554 และปี 2554 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนธันวาคม 2554
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2554 เท่ากับ 123.1สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2554 เท่ากับ 122.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนธันวาคม 2554 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
2.2 เดือนธันวาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.7
2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2554 เทียบกับปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.3
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2554 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 0.2 (พฤศจิกายน สูงขึ้นร้อยละ 0.8) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 2.6 (คอนกรีตบล็อกก่อผนัง คอนกรีตผสมเสร็จ) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ร้อยละ 0.7 (อิฐมอญ อิฐกลวง ดินถมที่ ทรายถมที่ ยางมะตอย) เนื่องจากประชาชนมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพื่อทยอยซ่อมแซมที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ประกอบ กับแหล่งผลิตวัสดุก่อสร้างบางชนิด เช่น อิฐ และ คอนกรีตบล็อค ประสบอุทกภัยจึงมีปริมาณการผลิตน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างใน เดือนนี้ขยับสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และ ซีเมนต์ ปรับตัวลดลงเป็นผลจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2554 เทียบกับเดือนธันวาคม 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 6.7 (พฤศจิกายน สูงขึ้นร้อยละ 7.3) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กรูปพรรณ) และหมวด ผลิตภัณฑ์คอนกรีต (คอนกรีตบล็อกก่อผนัง-ก่อผนังมวลเบา พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง) สูงขึ้นเท่ากับร้อยละ 11.2 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้น ร้อยละ 9.6 (อิฐมอญ ทราย ยางมะตอย หินย่อย) เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในปี 2554 ขยายตัวมากกว่า ปีที่แล้ว
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยปี 2554 เทียบกับปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.3 สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์ เหล็ก ร้อยละ 11.5 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กรูปพรรณ) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 10.5 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 5.7 (อิฐมอญ อิฐกลวง วงกบอลูมิเนียม ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนราคา วัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน ธันวาคม ปี 2554
(2548 = 100)
หมวด สัดส่วน ดัชนี อัตราเปลี่ยนแปลง น้ำหนักปีฐาน ธ.ค.54 พ.ย.54 ธ.ค.53 เฉลี่ย ธ.ค.54/ ธ.ค.54/ ม.ค.- ธ.ค.54/ พ.ย.54 ธ.ค.53 ม.ค.- ธ.ค.53/ ดัชนีรวม 100.00 123.1 122.9 115.4 120.4 0.2 6.7 6.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.75 139.9 139.9 138.8 139.8 0.0 0.8 2.9 ซิเมนต์ 11.62 115.6 117.2 111.3 115.1 -1.4 3.9 10.5 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 13.29 115.5 112.6 103.9 106.9 2.6 11.2 4.3 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 26.84 124.4 124.5 111.9 123.7 -0.1 11.2 11.5 กระเบื้อง 6.59 111.1 111.1 110.2 109.4 0.0 0.8 -1.1 วัสดุฉาบผิว 2.73 118.2 119.8 113.8 116.6 -1.3 3.9 2.5 สุขภัณฑ์ 2.20 149.6 149.6 149.8 149.9 0.0 -0.1 3.7 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.28 113.8 114.8 112.6 113.6 -0.9 1.1 2.9 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 16.71 136.5 135.5 124.6 129.8 0.7 9.6 5.7
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851