รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนมกราคม 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday April 5, 2012 11:38 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังรัฐบาลเร่งฟื้ นฟูและเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แต่ทั้งนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมกราคม 2555 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,024 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 21.2 เป็ น 24.2* ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 11.2 เป็ น 14.6* และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต(3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 27.8 เป็ น 30.6* พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทั่วไปกลับสู่ภาวะปกติภายหลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ อีกทั้งรัฐบาลได้เร่งฟื้ นฟูและเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและผู้ได้รับผลกระทบ โดยเร่งจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ผู้ประสบภัยและเกษตรกร การออกนโยบายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ(Soft loan) รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 แต่ทั้งนี้ค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ โดยเฉพาะต่อปัญหาค่าครองชีพการปรับขึ้นราคาน้ำมันและพลังงาน รวมทั้งปัจจัยลบด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและภัยธรรมชาติ

ส่วนค่าดัชนีในด้านต่างๆ พบว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคตเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายลง อีกทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แต่ทั้งนี้โอกาสในการหางานทำในปัจจุบันและอนาคตยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งประชาชนยังมีความกังวลและไม่มั่นใจเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคต ยังอยู่ในระดับสูงเนื่องจากประชาชนยังต้องจับจ่ายใช้สอยสินค้าเพื่อซื้ออุปโภคบริโภคแม้ว่าจะลดลงในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้ การวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ และสินค้าคงทนต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความมั่นใจในการซื้อสินค้าคงทนถาวร ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นการซื้อมาเพื่อทดแทนเครื่องใช้ไฟฟ้ ที่เสียหายจากน้ำท่วมเป็นส่วนใหญ่

  • หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะมีการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังทุกเดือน ซึ่งจะรายงานในเดือนถัดไป

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่าหลายภูมิภาคมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 19.0 เป็น 20.0* ภาคเหนือ จาก 22.7 เป็น 29.8* ภาคตะวันออก จาก 18.5 เป็น 19.4* ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 30.8 เป็น 35.9* และภาคใต้ จาก 20.5 เป็น 25.5* ส่วนภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง คือ ภาคกลาง มีการปรับตัวลดลง จาก 13.1 เป็น 11.8* สาเหตุที่ความเชื่อมั่นในภาคกลางปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากประชาชนมีความวิตกกังวลและบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่

  • หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะมีการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังทุกเดือน ซึ่งจะรายงานในเดือนถัดไป
ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข เป็นดังนี้
                                                                                   หน่วย:ร้อยละ
     พื้นที่          ราคาสินค้า   ราคาน้ำมัน   การว่างงาน   ค่าครองชีพ   เศรษฐกิจทั่วไป   คอรัปชั่น   ยาเสพติด
ประเทศไทย           17.4       15.8        11.5       13.6         10.3        7.5      7.4
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล      18.1       16.6        10.8       14.0          8.8        7.7      6.9
ภาคกลาง             15.9       14.7        13.1       14.4         10.4        6.1      7.6
ภาคเหนือ             16.8       16.1        11.4       12.3         11.4        7.9      7.1
ภาคตะวันออก          18.6       17.9        13.6       13.4          9.2        6.8      8.1
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  17.4       15.0        10.4       14.0         10.4        7.7      7.2
ภาคใต้               17.8       15.6        11.3       13.3         10.9        8.2      8.2

ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป คอรัปชั่นและยาเสพติด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้

กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและการว่างงาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
ด้านราคาสินค้าและความเป็นอยู่

1. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ดูแลปัญหาราคาน้ำมันและพลังงาน แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ในปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ

2. ดูแลบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ออกมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งสร้างความความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

ด้านปัญหาอุทกภัย

1. หาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวภายหลังน้ำลดเพื่อให้ประชาชนมีงานทำมีรายได้

2. วางแผนยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบในระยะยาว รวมทั้งแผนรองรับอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่เหมือนปีที่ผ่านมา

3. ต้องการให้รัฐบาลหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ/มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและรถยนต์ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ด้านสังคม

1. ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัญหายาเสพติดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการปราบปรามอย่าง จริงจังเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ

2. ต้องการให้รัฐบาลดำเนินโครงการต่างๆตามนโยบายที่วางไว้ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

3. ทั้งดูแลสวัสดิการประกันสังคมและสวัสดิการผู้สูงอายุ/ผู้พิการให้เหมาะสมและพอเพียง รวมทั้งเพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ

4. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พัฒนาและเสริมสร้างชุมชนต่างๆให้เข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆทางด้านสังคม

ด้านเกษตร

1. ดูแลราคาสินค้าทางการเกษตร ช่วยเหลือและส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

2. ดูแลโครงการรับจำนำสินค้าการเกษตร เช่น ข้าวและมันสำปะหลัง ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด

---------------------------------------

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-6553 Fax.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ