รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนมีนาคม 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday April 10, 2012 11:29 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่มีข่าวปรับตัวสูงขึ้น

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จานวน 3,046 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 25.8 เป็น 23.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวลดลงจาก 15.7 เป็น 14.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวลดลงจาก 32.6 เป็น 28.8 พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตภาคการเกษตร

ส่วนค่าดัชนีในด้านต่างๆ พบว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคตลดลง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรบางชนิดปรับตัวลดลง ประกอบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระหว่างการปรับตัวจากนโยบายค่าแรงขั้นต่าที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน ประชาชนยังมี ความกังวลและไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจากข่าวความไม่แน่นอนในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคต ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง การวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและยังรู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ น้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่าภูมิภาคที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้ ภาคกลาง จาก 11.7 เป็น 15.8 และภาคเหนือ จาก 25.6 เป็น 26.2 ส่วนภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง คือ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 27.0 เป็น 23.9 ภาคตะวันออก จาก 14.7 เป็น 12.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 33.7 เป็น 28.7 และภาคใต้ จาก 31.1 เป็น 25.2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทา ให้ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตภาคการเกษตร

ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข เป็นดังนี้
                                                                                   หน่วย:ร้อยละ
     พื้นที่          ราคาสินค้า   ราคาน้ำมัน   ค่าครองชีพ   การว่างงาน   เศรษฐกิจทั่วไป   ยาเสพติด    คอรัปชั่น
ประเทศไทย           18.5        18.1      14.2        11.1         10.6        7.1        6.5
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล      18.6        16.3      14.9        10.4         11.0        6.1        6.3
ภาคกลาง             17.2        19.5      14.5        14.5         10.2        6.8        5.8
ภาคเหนือ             18.2        17.8      14.0        10.9         11.8        5.8        7.1
ภาคตะวันออก          21.3        20.7      14.3        12.2          9.8        8.7        4.5
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  18.3        18.3      14.8         9.3          9.7        7.5        6.6
ภาคใต้               19.1        17.6      12.5        10.5         10.5        8.5        7.2

ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด และคอรัปชั่นตามลาดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้

กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ค่าครองชีพและราคาน้ำมัน

ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้า/ราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ค่าครองชีพและการว่างงาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ

ด้านเศรษฐกิจ

1.ดูแลราคาน้ำมันและพลังงาน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

2.แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการปรับลดหรือตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมทั้ง ปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ เพราะในปัจจุบันประชาชนมีหนี้เพิ่มมากขึ้นในหลายครัวเรือน

ด้านสังคม

1.ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่นอย่างจริงจัง แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

2.สร้างความเชื่อมั่นในรัฐบาลและเร่งสร้างความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ เนื่องจากส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ

ด้านปัญหาอุทกภัย

1. บริหารจัดการน้าอย่างรอบคอบ เร่งพัฒนาคลองชลประทานเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รวมทั้งเร่งวางแผนการขุดคลองเชื่อมเพื่อให้น้ำไหลลงทะเล รวมทั้งเร่งวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง

ด้านเกษตร

1.แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

2.ดูแลราคาสินค้าการเกษตร แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลังเพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าปุ๋ยและค่าน้ำมันที่แพงขึ้นมาก

---------------------------------------

การอ่านค่าดัชนี

ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้

  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ