ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ทั้งนี้ประชาชนยังคงมีความกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพและราคาน้ำมัน
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,244 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 23.0 เป็น 24.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14.4 เป็น 15.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 28.8 เป็น 30.0 พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 3000บาท การจับจ่ายใช้สอย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ทั้งนี้ ค่าดัชนียังต่ำกว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ราคาสินค้าและอาหารปรับตัวสูงขึ้น
จากการที่รัฐบาลได้สร้างมั่นใจให้กับประชาชนในนโยบายการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดที่มีผลในวันที่ 1 เมษายน 2555 และอีก 70 จังหวัดที่เหลือจะมีผลใน วันที่ 1 มกราคม 2556 ส่งผลให้ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคต เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเริ่มมีการวางแผนการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
หน่วย:ร้อยละ พื้นที่ ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด คอรัปชั่น ประเทศไทย 18.3 17.6 14.1 10.9 10.7 7.0 6.5 กรุงเทพฯ/ปริมณฑล 18.9 15.6 14.3 10.3 9.9 7.2 6.6 ภาคกลาง 17.1 18.6 14.8 13.4 10.2 6.2 6.9 ภาคเหนือ 17.2 18.2 14.2 11.0 11.4 6.7 6.3 ภาคตะวันออก 19.9 19.0 14.1 11.4 10.8 7.9 6.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19.6 18.6 13.8 9.6 10.3 6.7 5.8 ภาคใต้ 17.9 16.5 13.6 10.7 11.8 7.5 7.2
ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด และคอรัปชั่น ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมา คือราคาสินค้าและค่าครองชีพ
ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาสินค้าและค่าครองชีพ
ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพบทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1.ดูแลปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหาร ราคาน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าไม่ให้สูงเกินไป ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หนี้สินในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น
2.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนมากกว่าที่จะทำตามประชานิยม
3.ต้องการให้รัฐบาลดูแลการจัดเก็บภาษีและใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
1.แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้บ้านเมืองสงบ
2.มีมาตรการตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการทุจริตและคอรัปชั่น
3.ต้องการให้ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางการศึกษาเพื่ออนาคตของเยาวชน
1. วางแผนและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวเพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
1.หามาตรการช่วยลดต้นทุนของภาคเกษตร เช่น ราคาปุ๋ยและราคาน้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งหาแหล่งกักเก็บน้ำ ที่เหมาะสมให้เกษตรกร
2.แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ หาตลาดต่างประเทศเพื่อช่วยเกษตรกรให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น
3.ต้องการให้มีโครงการประกันราคาสินค้าที่สำคัญ
---------------------------------------
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th