ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน พฤษภาคม 2555
กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ ใช้คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดยเผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน พฤษภาคม 2555 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมา คำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม 2555
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2555 เท่ากับ 125.4 ทรงตัวเท่ากับเดือนเมษายน 2555
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม 2555 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนเมษายน 2555 ไม่เปลี่ยนแปลง
2.2 เดือนพฤษภาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.3
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 4.6
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2555 เทียบกับเดือนเมษายน 2555 ไม่เปลี่ยนแปลง (เมษายน สูงขึ้นร้อยละ 0.8) เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างมีทั้งสูงขึ้นและลงลง โดยดัชนีหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (ดินถมที่ ทรายถมที่ ทรายหยาบ-ละเอียด อลูมิเนียมเส้น ) เป็นผลจากความต้องการใช้ดิน ทราย เพื่อการซ่อมแซมถนนที่เสียหายจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา และเริ่มโครงการยกระดับถนน เป็นเขื่อน ในพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดปทุมธานีถึงอยุธยา ส่วนหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.1 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กแผ่น ลวดผูกเหล็ก ) เป็นผลจากต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงนโยบายรัฐบาล ที่ตรึงราคาก๊าซ NGV และ LPG เป็นระยะเวลา 3 เดือน จนถึง 15 สิงหาคม 2555 ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวม ไม่เปลี่ยนแปลง
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2555 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 4.3 (เมษายน สูงขึ้นร้อยละ 4.5) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 17.3 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา เสาเข็มคอนกรีต เสริมเหล็ก) หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.9 (สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิค น้ำยารักษาเนื้อไม้) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 9.2 (อิฐ ดินถมที่ ทราย ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2555 เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.6 สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 15.2 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง คอนกรีตบล็อคก่อผนังมวลเบา) หมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 4.8 (สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะคริลิค) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 10.3 (อิฐมอญ อิฐโปร่ง ทราย ยางมะตอย หินย่อย) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน พฤษภาคม ปี 2555
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก พ.ค.55 เม.ย.55 พ.ค.54 เฉลี่ย พ.ค.55/ พ.ค.55/ ม.ค.- พ.ค.55/ เม.ย.55 พ.ค.54 ม.ค.- พ.ค.54 ดัชนีรวม 100.00 125.4 125.4 120.2 124.4 0.0 4.3 4.6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.63 140.2 140.2 140.1 140.1 0.0 0.1 0.4 ซิเมนต์ 11.06 112.2 112.2 116.3 112.9 0.0 -3.5 -1.4 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 13.98 123.9 123.9 105.6 120.2 0.0 17.3 15.2 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 26.75 126.3 126.4 124.1 125.1 -0.1 1.8 2.3 กระเบื้อง 6.48 111.2 111.2 106.7 111.5 0.0 4.2 3.8 วัสดุฉาบผิว 2.71 119.4 119.4 113.8 119.3 0.0 4.9 4.8 สุขภัณฑ์ 2.20 152.8 152.8 149.5 152.2 0.0 2.2 1.8 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.17 114.9 114.9 113.9 114.4 0.0 0.9 1.1 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.02 141.7 141.6 129.8 140.3 0.1 9.2 10.3
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851