ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือนเมษายน 2555
กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ใช้ คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดยเผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน เมษายน 2555 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา วัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนเมษายน 2555
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2555 เท่ากับ 125.4 สำหรับเดือนมีนาคม 2555 เท่ากับ 124.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนเมษายน 2555 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เดือนเมษายน 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.8
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - เมษายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 4.6
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนเมษายน 2555 เทียบกับเดือนมีนาคม 2555 สูงขึ้น ร้อยละ 0.8 (มีนาคม สูงขึ้นร้อยละ 0.6) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 2.2 (ถังซีเมนต์สำเร็จรูป คอนกรีตบล็อคก่อผนัง คานคอนกรีต ) หมวดเหล็กและผลิต ภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 1.8 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ท่อเหล็กกลวงที่เหลี่ยมจัตุรัส ) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 0.7 (ดินถมที่ หินคลุก ทรายถมที่ ) เป็นผลจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและแก๊สที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบด้านค่าขนส่ง สินค้าและวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนเมษายน 2555 เทียบกับเดือนเมษายน 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 4.8 (มีนาคม สูงขึ้นร้อยละ 4.5) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 18.8 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-มวลเบา-ปูพื้น เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก) หมวดวัสดุ ก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 9.9 (อิฐ ทราย ยางมะตอย) และหมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.9 (สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน น้ำยารักษาเนื้อไม้) เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและแก๊สที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม - เมษายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.6 สาเหตุจากการ สูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 14.7 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-มวลเบา เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง คอนกรีตบล็อคปูพื้น) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 10.6 (อิฐมอญ อิฐโปร่ง ทราย ยางมะตอย หินย่อย) และหมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 4.8 (สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะคิลิค) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน เมษายน ปี 2555
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก เม.ย.55 มี.ค.55 เม.ย.54 เฉลี่ย เม.ย.55/ เม.ย.55/ ม.ค.- เม.ย.55/ มี.ค.55 เม.ย.54 ม.ค.- เม.ย.54 ดัชนีรวม 100.00 125.4 124.4 119.7 124.1 0.8 4.8 4.6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.63 140.2 140.2 140.1 140.1 0.0 0.1 0.5 ซิเมนต์ 11.06 112.2 112.4 115.2 113.1 -0.2 -2.6 -0.9 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 13.98 123.9 121.2 104.3 119.3 2.2 18.8 14.7 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 26.77 126.4 124.2 124.4 124.8 1.8 1.6 2.4 กระเบื้อง 6.48 111.2 113.2 106.7 111.6 -1.8 4.2 3.7 วัสดุฉาบผิว 2.71 119.4 119.4 113.8 119.3 0.0 4.9 4.8 สุขภัณฑ์ 2.20 152.8 152.8 149.5 152 0.0 2.2 1.7 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.17 114.9 114.2 112.9 114.3 0.6 1.8 1.2 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.01 141.6 140.6 128.8 139.9 0.7 9.9 10.6
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851