ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน มิถุนายน 2555 และเฉลี่ยระยะ 6 เดือนของปี 2555
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมิถุนายน 2555
กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ใช้คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดยเผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน มิถุนายน 2555 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมิถุนายน 2555
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2555 เท่ากับ 125.5 เดือนพฤษภาคม 2555 เท่ากับ 125.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมิถุนายน 2555 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2.2 เดือนมิถุนายน 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.5
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - มิถุนายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 4.6
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2555 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (พฤษภาคม ไม่เปลี่ยนแปลง) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.6 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังซีเมนต์) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 0.8 (อิฐโปร่ง ดินลูกรัง หินคลุก ทราย) และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 0.2 (ถังเก็บน้ำแสตนเลส เครื่องสูบน้ำ) ช่วงฤดูฝน ความต้องการวัสดุก่อสร้างค่อนข้างชะลอตัวลง แต่วัสดุก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างเพื่อป้องกันอุกภัยในปีนี้ เช่น อิฐและ ทราย มีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโรงงานอิฐ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมยังไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต ส่วนแหล่งทรายในปัจจุบันหาพื้นที่ขุดทรายยากขึ้น รวมถึงเส้นทางการขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม ทำให้การขนส่ง ลำบากขึ้น
สำหรับหมวดที่ดัชนีลดลงได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 1.1 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ) และหมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 0.4 (สีรองพื้นโลหะ น้ำมัน- เคลือบแข็ง) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน การก่อสร้างชะลอตัวลง และราคาเหล็กที่ลดลง ยังเป็นผลจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง จากการมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงขึ้นในประเทศจีนและประเทศในกลุ่มยุโรป
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2555 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.5 (พฤษภาคม สูงขึ้นร้อยละ 4.3) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 19.2 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา ถังซีเมนต์ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 10.3 (อิฐมอญ อิฐโปร่ง ทราย ดินถมที่ ยางมะตอย) และหมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 2.2 (ที่ปัสสาวะเซรามิก ที่ใส่สบู่ โถส้วม) เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม - มิถุนายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.6 สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 15.9 (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น คอนกรีตบล็อคก่อผนังมวลเบา ถังซีเมนต์) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 10.3 (อิฐมอญ อิฐโปร่ง ทราย หินย่อย ยางมะตอย) และหมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 4.6 (สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะคริลิค) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน มิถุนายน ปี 2555
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก มิ.ย.55 พ.ค.55 มิ.ย.54 เฉลี่ย มิ.ย.55/ มิ.ย.55/ ม.ค.- มิ.ย.55/ พ.ค.55 มิ.ย.54 ม.ค.- มิ.ย.54 ดัชนีรวม 100.00 125.5 125.4 120.1 124.6 0.1 4.5 4.6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.63 140.2 140.2 140.1 140.1 0.0 0.1 0.3 ซิเมนต์ 11.05 112.2 112.2 115.0 112.8 0.0 -2.4 -1.6 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 14.20 125.9 123.9 105.6 121.1 1.6 19.2 15.9 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 26.43 124.9 126.3 123.3 125.1 -1.1 1.3 2.1 กระเบื้อง 6.47 111.2 111.2 109.4 111.5 0.0 1.6 3.5 วัสดุฉาบผิว 2.69 118.9 119.4 115.3 119.3 -0.4 3.1 4.6 สุขภัณฑ์ 2.20 152.8 152.8 149.5 152.3 0.0 2.2 1.9 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.18 115.1 114.9 114.0 114.5 0.2 1.0 1.1 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.14 142.8 141.7 129.5 140.7 0.8 10.3 10.3
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851