รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนมิถุนายน 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 6, 2012 14:41 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันปรับลดลงและภาวะราคาสินค้าโดยทั่วไปชะลอตัวลง รวมทั้งนโยบายและมาตรการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมิถุนายน 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จานวน 3,249 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 27.4 เป็น 27.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 18.5 เป็น 20.9 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวลดลงจาก 33.4 เป็น 32.1 เนื่องจาก ราคาน้ำมันปรับลดลงและภาวะราคาสินค้าโดยทั่วไปชะลอตัวลง รวมทั้งนโยบายการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการโชห่วยช่วยชาติและโครงการธงฟ้า โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร อีกทั้งการเลือกตั้งท้องถิ่น และการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ทาให้มีเงินหมุนเวียนในระบบและเกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ค่าดัชนียังตากว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากวิกฤติการเงินในยุโรป

ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต( 3 เดือนข้างหน้า)ปรับตัวลดลงเนื่องจากใน 3 เดือนข้างหน้าเป็นช่วงฤดูฝนทำให้การบริโภคและกิจกรรมต่างๆเช่น ภาคการท่องเที่ยวและการก่อสร้างชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อย ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในอนาคตปรับตัวลดลง ทั้งนี้ดัชนีมีค่าสูงกว่า 50 บ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังมีการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่วนความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีความมั่นใจในอนาคต ทำให้ต้องปรับตัวและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

ปัญหาต่างๆที่ ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข พิจารณาตามสัดส่วน ดังนี้
                                                                                   หน่วย:ร้อยละ
     พื้นที่          ราคาสินค้า   ราคาน้ำมัน   ค่าครองชีพ   การว่างงาน   เศรษฐกิจทั่วไป   ยาเสพติด    คอรัปชั่น
ประเทศไทย             17.9       15.5       14.5        10.4          11.0       7.4       7.9
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล        17.9       12.9       15.1         9.7          12.2       8.6       8.4
ภาคกลาง               16.9       15.8       15.1        11.4          11.5       5.4       6.1
ภาคเหนือ               17.5       15.9       14.6        10.8          10.6       6.7       7.9
ภาคตะวันออก            18.7       16.5       15.5         9.7           9.7       9.8       7.3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    19.4       17.7       13.9         9.2           9.9       6.7       7.5
ภาคใต้                 17.0       15.2       13.5        11.4          11.5       8.5       9.7

ผู้บริโภคในเกือบทุกภาค ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ แต่ผู้บริโภคในส่วนกรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือค่าครองชีพและราคานามัน

ด้านเศรษฐกิจ

1.ต้องการให้รัฐบาลดูแล/ควบคุมราคาอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค แก้ไขปัญหาการผูกขาดราคาสินค้าจากกลุ่มนายทุนใหญ่

2.ดูแลโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาพลังงาน รวมทั้งค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปาและค่าไฟให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3.หามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นตา 300 บาท

4.ต้องการให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

5.พัฒนาและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ด้านสังคม

1.แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปราบปรามผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ รวมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น

2.ต้องการให้ยุติความขัดแย้งทางการเมือง

3.ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมการสร้างอาชีพสร้างรายได้และการจ้างงานในชุมชน

ด้านเกษตร

1.ผลักดันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น

2.ดูแลต้นทุนภาคเกษตร เช่น ต้องการให้ราคาปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ยาทางด้านการเกษตรถูกลง

---------------------------------------

การอ่านค่าดัชนี

ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้

  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ