รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนกรกฎาคม 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday August 7, 2012 15:53 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2555 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,155 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 27.6 เป็น 29.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 20.9 เป็น 21.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 32.1 เป็น 34.2 เนื่องจาก นโยบายและมาตรการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น การขยายเวลาลดอัตราภาษีนน้ำมันดีเซล การอนุมัติ การแทรกแซงราคายางพารา รวมทั้งการออกประกาศราคาแนะนำอาหารสำเร็จรูปของกระทรวงพาณิชย์เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน แต่ทั้งนี้ค่าดัชนียังต่ำกว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นไม่เต็มที่นัก เนื่องจากยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองภัยธรรมชาติและผลกระทบจากวิกฤติการเงินในยุโรป

ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต(3 เดือนข้างหน้า)ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายการดูแลราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวและมันสำปะหลังมาตรการแทรกแซงราคายางพารา ซึ่งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และเงินออมมากขึ้น มีหนี้สินลดลงส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งนี้ดัชนีมีค่าสูงกว่า 50 บ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนงมีการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายสูงและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลก ทำให้ประชาชนต้องปรับตัวและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

ปัญหาต่างๆที่ ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข พิจารณาตามสัดส่วน ดังนี้++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                                                                                   หน่วย:ร้อยละ
     พื้นที่          ราคาสินค้า   ราคาน้ำมัน   ค่าครองชีพ     เศรษฐกิจทั่วไป    การว่างงาน   คอรัปชั่น   ยาเสพติด
ประเทศไทย             17.9       15.7       14.7        10.8          10.2       8.1       7.3
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล        18.6       13.9       15.3        12.0          10.7       9.4       7.1
ภาคกลาง               16.3       15.9       15.4        10.1          11.5       7.4       5.9
ภาคเหนือ               17.9       16.5       15.5        11.2          10.3       6.9       6.6
ภาคตะวันออก            19.5       17.5       14.3         9.6           9.8       7.7       8.5
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    18.0       16.8       13.9         9.1           8.9       7.6       7.7
ภาคใต้                 17.8       14.5       13.9        12.1          10.5       8.9       8.4

ผู้บริโภคในเกือบทุกภาค ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ แต่ผู้บริโภคในส่วนกรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือค่าครองชีพและราคาน้ำมัน

ด้านเศรษฐกิจ

1. ดูแลและควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหารสำเร็จรูป

2. ดูแลโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาพลังงาน

3. หาแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว

4. สร้างบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

5. สร้างเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง เร่งลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ด้านสังคม

1. แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปราบปรามผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่รวมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น

2. แก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ

3. แก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาสังคมโดยเฉพาะสิทธิสตรีและเด็ก

ด้านเกษตร

1. แก้ไขปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ ผลักดันราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น

---------------------------------------

การอ่านค่าดัชนี

ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้

  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ