รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2555 (เมษายน - มิถุนายน 2555)

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday May 18, 2012 11:54 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการ คาดการณ์ต่อเศรษฐกิจไตรมาสหน้ายังมีแนวโน้มดี แต่มีความกังวลต่อค่าครองชีพและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 2/2555 (เมษายน - มิถุนายน 2555) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,827 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 40.5 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 42.9 และไม่ดี ร้อยละ 16.6 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 61.9 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึง การคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไตรมาสหน้า ยังมีทิศทางบวก แต่มีความกังวลต่อต้นทุน ค่าครองชีพ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 2/2555
                                      ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 2/55
การสำรวจ                            ดีขึ้น        ไม่เปลี่ยนแปลง       ลดลง     ดัชนี
                                    (%)            (%)           (%)     Q2/55
1. ผลประกอบการ                     38.1           45.0           16.9    60.6
2. ต้นทุนต่อหน่วย                      63.6           31.7            4.7    79.5
3. การจ้างงาน                       21.2           68.6           10.2    55.5
4. การขยายกิจการ                    15.2           76.9            7.9    53.7
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q2/55
            ภาค              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)   Q2/55
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล           225      48.7          35.7        15.6    66.5
2. ภาคกลาง                     252      34.3          46.6        19.1    57.6
3. ภาคเหนือ                     420      43.6          40.5        15.9    63.9
4. ภาคตะวันออก                  129      38.8          47.3        13.9    62.4
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          465      41.8          41.6        16.6    62.6
6. ภาคใต้                       336      34.4          48.2        17.4    58.5
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q2/55
           สาขา              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)   Q2/55
1. เกษตรกรรม                   171      38.2          41.8       20.0     59.1
2. อุตสาหกรรม                   468      36.3          46.9       16.8     59.8
3. พาณิชยกรรม                   746      38.2          47.6       14.2     62.0
4. ก่อสร้าง                       55      45.5          45.5        9.0     68.2
5. การเงินและประกันภัย             94      59.6          34.0        6.4     76.6
6. บริการ                       293      34.5          51.2       14.3     60.1
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะภาวะธุรกิจ ไตรมาส 2/2555
1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และการส่งออกจากราคาสินค้าที่สูงกว่าประเทศอื่น 2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ เกษตรกรรม

ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด หัวหอมแดง ฯลฯ ต้นทุนสูงขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน และค่าแรง อุตสาหกรรม

ขาดแคลนแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการต้นทุนสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน วัตถุดิบ และค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น พาณิชยกรรม

กำลังซื้อลดลง จากการประหยัดการใช้จ่ายของประชาชน สินค้าราคาแพงขึ้น กำไรลดลง การแข่งขันสูง ก่อสร้าง

ราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ และสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การเงิน

ภาคการเงินยังคงมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต บริการ อัตราผู้ใช้บริการลดลง ต้นทุนสูงขึ้น ค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น 3. ผลประกอบการของธุรกิจ

กำไรต่อหน่วยลดลงเนื่องจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาขายไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มากนัก 4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งราคาวัตถุดิบ เชื้อเพลิง และสาธารณูปโภค 5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการในหลายอุตสาหกรรมซึ่งเดิมก็มีปัญหาขาดแคลนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีความวิตกกังวลเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้บางกิจการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ซึ่งยังปรับตัวไม่ได้ลดการจ้างงาน 6. การขยายกิจการของธุรกิจ

กิจการส่วนใหญ่ชะลอการขยายกิจการ เพราะยังมีความกังวลเรื่องนโยบายการป้องกันน้ำท่วมที่ขาดความชัดเจน และต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการของตลาดชะลอตัว และมีการแข่งขันสูง

ข้อเสนอแนะ

1. ควบคุมราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และปัจจัยการผลิตต่างๆ

2. ควรมีแผนการระยะยาวเพื่อให้ความช่วยเหลือภาคเอกชน ทั้งในเรื่องภาษี และการป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ

3. สนับสนุนให้มีการใช้แรงงานในประเทศ ให้มากกว่าแรงงานต่างด้าว

4. ส่งเสริมร้านค้าปลีกท้องถิ่น และร้านค้าชุมชนในรูปสหกรณ์อย่างมีระบบ มีความมั่นคงและยั่งยืน

5. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง และดูแลเรื่องความปลอดภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

25 เมษายน 2555

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี จำนวน 225 ราย

          ภาคกลาง            13 จังหวัด ได้แก่  สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี

สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก จำนวน 252 ราย

          ภาคเหนือ            17 จังหวัด ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุตรดิตถ์

ลำพูน น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ กำแพงเพชร จำนวน 420 ราย

          ภาคตะวันออก          7 จังหวัด ได้แก่  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว จำนวน 129 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี

ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ยโสะร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ

และ มหาสารคาม จำนวน 465 ราย

          ภาคใต้              14 จังหวัด ได้แก่  สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา ชุมพร พังงา

ระนอง สตูล พัทลุง และปัตตานี จำนวน 336 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ ( ไตรมาสที่ 2/2555 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2555 ) ทำการสำรวจ ในเดือนมีนาคม 2555 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,828 ชุด มีแบบสอบถามเสีย จำนวน 1 แบบ คิดเป็นร้อยละ 0.05 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,827 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 2/2555 ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 25 เมษายน 2555 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี )

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี )

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

          ถ้าตอบว่า           ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้น    จะให้คะแนนเท่ากับ 1
          ถ้าตอบว่า           ไม่เปลี่ยนแปลง    จะให้คะแนนเท่ากับ 0.5
          ถ้าตอบว่า           ไม่ดีหรือลดลง     จะให้คะแนนเท่ากับ 0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ