รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 3/2555 (กรกฎาคม - กันยายน 2555)

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday August 7, 2012 15:34 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการ คาดการณ์ต่อเศรษฐกิจไตรมาสหน้ายังมีแนวโน้มดี แต่มีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2555 (กรกฎาคม - กันยายน 2555) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,921 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 35.4 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 45.8 และไม่ดี ร้อยละ 18.8 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 58.2 ซึ่งมี ค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึง การคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไตรมาสหน้า ยังมีทิศทางบวก แต่มี ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ต้นทุนการผลิต ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น และวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 3/2555
                                      ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 3/55
การสำรวจ                            ดีขึ้น        ไม่เปลี่ยนแปลง       ลดลง     ดัชนี
                                    (%)            (%)           (%)     Q3/55
1. ผลประกอบการ                     34.1            46.8          19.1     57.5
2. ต้นทุนต่อหน่วย                      56.9            38.4           4.7     76.1
3. การจ้างงาน                       19.9            69.4          10.7     54.6
4. การขยายกิจการ                    14.7            77.5           7.8     53.4
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q3/55
            ภาค              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)   Q3/55
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล           241      36.8          45.6        17.6    59.6
2. ภาคกลาง                     264      36.4          47.0        16.6    59.8
3. ภาคเหนือ                     457      33.1          47.7        19.2    57.0
4. ภาคตะวันออก                  130      34.6          47.7        17.7    58.5
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          476      36.5          42.6        20.9    57.8
6. ภาคใต้                       353      34.9          46.3        18.8    58.0
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q3/55
           สาขา              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)   Q3/55
1. เกษตรกรรม                   167      40.0          47.3       12.7     63.6
2. อุตสาหกรรม                   493      30.9          50.1       19.0     55.9
3. พาณิชยกรรม                   792      30.5          49.2       20.3     55.1
4. ก่อสร้าง                       61      36.1          50.8       13.1     61.5
5. การเงินและประกันภัย             82      62.2          32.9        4.9     78.7
6. บริการ                       326      42.0          47.2       10.8     65.6

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะภาวะธุรกิจ ไตรมาส 3/2555

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ความกังวลต่อสถานการณ์การเมือง ภัยธรรมชาติ และวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ เกษตรกรรม

ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค ภาษี และราคาวัตถุดิบ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ขณะที่ไม่สามารถปรับราคาขายได้อุตสาหกรรม ขาดแคลนแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการ ต้นทุนสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ค่าแรง ไฟฟ้า รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป พาณิชยกรรม

ผลประกอบการไม่ดี เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง การแข่งขันสูงค่าแรงสูงขึ้น ขณะที่แรงงานหายาก และไม่มีคุณภาพ ก่อสร้าง

ราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าขนส่ง ค่าแรง ดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ภาวะธุรกิจทรงตัว และระมัดระวังในการลงทุน การเงิน

เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวดีและยังคงมีแนวโน้มดีอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเมืองในประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป บริการ

ความไม่สงบทางการเมือง ต้นทุนที่สูงขึ้น ขาดแคลนแรงงงาน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว 3. ผลประกอบการของธุรกิจ

กำไรต่อหน่วยลดลงเนื่องจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันสูง

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นจากค่าแรง ราคาวัตถุดิบ เชื้อเพลิง และสาธารณูปโภค

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงาน แรงงานไม่มีคุณภาพ เลือกงาน และเปลี่ยนงานบ่อย กระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก 6. การขยายกิจการของธุรกิจ

กิจการส่วนใหญ่ชะลอการขยายกิจการเนื่องจากปัจจัยทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน

ข้อเสนอแนะ

1. รัฐควรมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยเน้นเรื่องโลจิสติกส์ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน

2. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ทั้งในเรื่องภาษี ต้นทุนการผลิตดอกเบี้ยเงินกู้

ตลอดจนด้านแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการที่ขาดแคลนอยู่ในขณะนี้

3. ดูแลค่าครองชีพ ราคาสินค้าเกษตร และลดต้นทุนการผลิต

4. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดทั้งความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

5. ส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น

6. ดูแลด้านพลังงาน และควรมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับพลังงานทดแทน

7. หาตลาดใหม่ๆ และอำนวยความสะดวกด้านการส่งออก

20 กรกฎาคม 2555

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี จำนวน 241 ราย

          ภาคกลาง           13  จังหวัด ได้แก่   สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี

สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก จำนวน 264 ราย

          ภาคเหนือ           17  จังหวัด ได้แก่   เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ลำพูน

น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ กำแพงเพชร จำนวน 457 ราย

          ภาคตะวันออก         7  จังหวัด ได้แก่   ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว จำนวน 130 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี

ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู เลย

อำนาจเจริญ และมหาสารคาม จำนวน 476 ราย

          ภาคใต้             14  จังหวัด ได้แก่   สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา ชุมพร

พังงา ระนอง สตูล พัทลุง และปัตตานี จำนวน 353 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ ( ไตรมาสที่ 2/2555 ระหว่างเดือนเมษายน — มิถุนายน 2555 ) ทำการสำรวจ ในเดือนมิถุนายน 2555 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,923 ชุด มีแบบสอบถามเสีย จำนวน 2 แบบ คิดเป็นร้อยละ 0.10 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,921 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 2/2555 ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี )

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี )

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

          ถ้าตอบว่า           ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้น    จะให้คะแนนเท่ากับ 1
          ถ้าตอบว่า           ไม่เปลี่ยนแปลง    จะให้คะแนนเท่ากับ 0.5
          ถ้าตอบว่า           ไม่ดีหรือลดลง     จะให้คะแนนเท่ากับ 0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ