ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก ( Export Expectation Index ) ไตรมาส 4/2555 (Q4/2012)

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday November 1, 2012 15:22 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ไตรมาส 4/2555 การส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 203 ราย คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 4/2555 (ตุลาคม - ธันวาคม) การส่งออกและความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยดัชนี มีค่า 65.1 และ 62.6 ตามลำดับ

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก
          ไตรมาส         %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          4/2555         47.6         34.9        17.5      30.1      65.1
          3/2555         41.9         37.2        20.9      21.0      60.5
          2/2555         40.9         40.3        18.8      22.1      61.0
          1/2555         48.0         33.8        18.2      29.8      64.9

ผู้ประกอบการส่งออก คาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4/2555 (ตุลาคม - ธันวาคม) จะดีขึ้น ร้อยละ 47.6 ไม่เปลี่ยน แปลง ร้อยละ 34.9 และลดลง ร้อยละ 17.5 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก มีค่าเท่ากับ 65.1 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออก ลดลงได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไม่รวมคอมพิวเตอร์

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน
          ไตรมาส       %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          4/2555       36.9         51.3        11.8      25.1      62.6
          3/2555       33.3         53.3        13.4      19.9      59.9
          2/2555       34.8         51.1        14.1      20.7      60.3
          1/2555       37.5         48.0        14.5      23.0      61.5

ในไตรมาสที่ 4/2555 (ตุลาคม - ธันวาคม) ผู้ประกอบการส่งออกคาดการณ์ว่าความสามารถในการแข่งขันจะดีขึ้น ร้อยละ 36.9 ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 51.3 และลดลง ร้อยละ 11.8 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน มีค่า 62.6 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขันจะ สูงขึ้นได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไม่รวมคอมพิวเตอร์

ดัชนีมูลค่าส่งออก
            เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กันยายน  55       36.7         21.5        41.8      -5.1      47.4
          สิงหาคม  55       38.2         21.1        40.7      -2.5      48.8
          กรกฎาคม 55       43.9         22.9        33.2      10.7      55.4

ดัชนีมูลค่าส่งออกเดือนกันยายน 2555 มีค่า 47.4 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นได้แก่ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่
          เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กันยายน  55     34.4         27.1        38.5      -4.1      47.9
          สิงหาคม  55     29.9         33.3        36.8      -6.9      46.6
          กรกฎาคม 55     40.3         24.0        35.7       4.6      52.3

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เดือนกันยายน 2555 มีค่า 47.9 สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ส่วนสินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีสินค้าคงคลัง
          เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กันยายน  55     26.0         38.1        35.9      -9.9      45.1
          สิงหาคม  55     31.3         38.8        29.9       1.4      50.7
          กรกฎาคม 55     26.0         37.5        36.5     -10.5      44.8

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนกันยายน 2555 มีค่า 45.1 มูลค่าสินค้า คงคลังที่ ลดลงได้แก่เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ส่วนมูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูป เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไม่รวมคอมพิวเตอร์

ดัชนีการจ้างงาน
          เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กันยายน  55     16.7         69.8        13.5       3.2      51.6
          สิงหาคม  55     20.0         65.0        15.0       5.0      52.5
          กรกฎาคม 55     20.1         67.0        12.9       7.2      53.6

ดัชนีการจ้างงานในเดือนกันยายน 2555 มีค่าเท่ากับ 51.6 แสดงว่าการจ้างงานภาคการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา
  • อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ
  • ขาดแคลนแรงงานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ
  • ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และต้นทุนพลังงานสูงขึ้นมาก
  • ภัยธรรมชาติและปัญหาการเมือง
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • รักษาค่าเงินบาทให้คงที่
  • ปรับเพิ่มจำนวนแรงงานวุฒิ ปวส.สาขาโรงงานอุตสาหกรรม
  • ชดเชยค่าไฟฟ้ากับโรงงานที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
  • สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกจะมีการปรับปรุงข้อมูลดัชนีย้อนหลัง 1 เดือน

ภาคผนวก

1. กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ทำการสำรวจ มีจำนวน 86 กลุ่มสินค้า

2. การคำนวณดัชนี เป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ (leading indicator) และแสดงทิศทางการเติบโต (growth) ของภาวะธุรกิจ จากการแปลงข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative) ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative) โดยกำหนดค่าคำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพิ่มขึ้นให้คะแนน เท่ากับ 1 เท่าเดิมให้คะแนน เท่ากับ 0.5 และ ลดลงให้คะแนนเท่ากับ 0 จากนั้นนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน หารด้วยจำนวนผู้ตอบแบบทั้งหมด แล้วคูณด้วย 100 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และค่าต่ำสุดเท่ากับ 0

3. การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อแสดงทิศทางเศรษฐกิจภาคการส่งออก ใช้เส้นค่า 50 (break even point) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าผลการคำนวณดัชนีอยู่เหนือเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจดีขึ้น ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจแย่ลง

ทั้งนี้ ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว หากดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึง ภาวะธุรกิจแย่ลงหรือชะลอตัว สาหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจดีขึ้นหรือขยายตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 5811-13, โทรสาร 0 2507 5806,0 2507 5825

www.price.moc.go.thEmail: neworders@moc.go.th


แท็ก การส่งออก   2012   tat  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ