กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็น
ปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ใช้คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่โดยเผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคา วัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม2556โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน131รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกระเบื้องวัสดุฉาบผิวสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาและวัสดุก่อสร้างอื่นๆเพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา วัสดุก่อสร้างได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม2556
ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100และเดือนมกราคม2556เท่ากับ 125.4เดือนธันวาคม 2555 เท่ากับ 124.8
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม2556เมื่อเทียบกับ
2.1เดือนธันวาคม2555สูงขึ้นร้อยละ 0.5
2.2 เดือนมกราคม2555สูงขึ้นร้อยละ1.9
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2556 เทียบกับเดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.5(เดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้น ร้อยละ 0.6) สาเหตุจากการสูงขึ้นของ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 1.1 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง ท่อเหล็ก เหล็กแผ่น) เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับขึ้นตามราคาสินแร่เหล็ก ส่งผลให้ราคาเหล็กแท่งเล็ก-แท่งแบนซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตปรับสูงขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศจีนต้องการเพิ่มระดับสต๊อกเหล็กให้มากขึ้นส่วนหมวดวัสดุฉาบผิวสูงขึ้นร้อยละ 1.1 (สีน้ำอะคริลิค สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน) และหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.3 (ไม้แบบวงกบประตู-หน้าต่าง บานประตู-หน้าต่าง) เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนดัชนีราคาที่ปรับตัวลดลงได้แก่ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซีถังเก็บน้ำแสตนเลส)
4. พิจารณาเทียบกับดัชนีราคาเดือนมกราคม2556 เทียบกับเดือนมกราคม 2555สูงขึ้นร้อยละ1.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคา หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 10.0 (เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตบล็อก)หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ร้อยละ 8.5 (ไม้แบบ วงกบประตู-หน้าต่าง บานประตู-หน้าต่าง) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 5.0(อิฐโปร่ง ยางมะตอย ดิน-ทรายถมที่หินใหญ่ หินคลุก)เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีความต้องการมากขึ้นในการใช้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป ส่วนหนึ่งเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สำหรับดิน-ทรายถมที่เนื่องจากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยต้องใช้เพื่อปรับระดับพื้นดินให้สูงขึ้นกว่าปกติ ในการป้องกันน้ำท่วม
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน มกราคม ปี 2556
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก ม.ค.55 ธ.ค.55 ม.ค.55 เฉลี่ย ม.ค.56/ ม.ค.56/ ม.ค.- ม.ค.56/ ธ.ค.55 ม.ค.55 ม.ค.- ม.ค.56 ดัชนีรวม 100.00 125.4 124.8 123.1 - 0.5 1.9 1.9 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 7.19 151.8 147.0 139.9 - 3.3 8.5 8.5 ซิเมนต์ 11.19 113.4 113.4 114.2 - 0.0 -0.7 -0.7 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 14.35 127.1 127.0 115.5 - 0.1 10.0 10.0 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 25.34 119.6 118.3 124.4 - 1.1 -3.9 -3.9 กระเบื้อง 6.51 111.6 111.5 111.1 - 0.1 0.5 0.5 วัสดุฉาบผิว 2.76 121.7 120.4 119.1 - 1.1 2.2 2.2 สุขภัณฑ์ 2.23 154.4 154.4 149.6 - 0.0 3.2 3.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.12 114.5 115.3 114.0 - -0.7 0.4 0.4 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.32 144.1 144.1 137.2 - 0.0 5.0 5.0
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 6719 โทรสาร. 0 2507 5825