กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม2556โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน131รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกระเบื้องวัสดุฉาบผิวสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาและวัสดุก่อสร้างอื่นๆเพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาวัสดุ ก่อสร้างได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม2556 ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนกรกฎาคม 2556 เท่ากับ 125.3 เดือนมิถุนายน2556เท่ากับ 124.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม2556เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมิถุนายน2556สูงขึ้นร้อยละ 0.3
2.2 เดือนกรกฎาคม2555สูงขึ้นร้อยละ 0.2
2.3 เฉลี่ยช่วงเดือน(มกราคม -กรกฎาคม 2556) เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม2556 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2556สูงขึ้นร้อยละ 0.3(เดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 0.4) หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 0.5 (เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย-ผิวเรียบเหล็กตัวเอชเหล็กฉากเหล็กแผ่นเรียบดำ) เนื่องจากราคาสินแร่เหล็ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 0.2(เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง) เนื่องจากวัตถุดิบ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ และทราย ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดซีเมนต์ ร้อยละ 0.4 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์)
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม2556 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2555สูงขึ้นร้อยละ 0.2
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดซีเมนต์ ร้อยละ 8.9 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 2.0 (เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง)เนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น ปูนซีเมนต์ ทราย ปรับตัวสูงขึ้น
หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 7.0 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับประเทศจีนมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 2.4 (สายเคเบิล สายไฟฟ้า)
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ย (มกราคม-กรกฎาคม) 2556 เทียบกับ(มกราคม-กรกฎาคม) 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สาเหตุจาก การสูงขึ้นของหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 5.2(คอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง คอนกรีตบล็อกก่อผนัง) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 5.1 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม)และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 2.8 (ทรายถมที่ หินคลุก ทราย หิน ) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับ ตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน กรกฎาคม ปี 2556
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก ก.ค.56 มิ.ย.56 ก.ค.55 เฉลี่ย ก.ค.56/ ก.ค.56/ ม.ค.- ก.ค.56/ มิ.ย.56 ก.ค.55 ม.ค.- ก.ค.55 ดัชนีรวม 100.00 125.3 124.9 125.1 125.5 0.3 0.2 0.7 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 7.13 150.4 150.4 140.2 151.1 0.0 7.3 7.9 ซิเมนต์ 12.19 123.5 123.0 113.4 118.7 0.4 8.9 5.1 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 14.63 129.5 129.3 126.9 128.4 0.2 2.0 5.2 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 24.22 114.2 113.6 122.8 117.1 0.5 -7.0 -6.2 กระเบื้อง 6.51 111.6 111.6 111.5 111.6 0.0 0.1 0.1 วัสดุฉาบผิว 2.74 120.9 120.9 119.4 121.4 0.0 1.3 1.8 สุขภัณฑ์ 2.26 156.5 156.5 151.3 155.9 0.0 3.4 2.5 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.86 112.1 111.7 114.8 113.4 0.4 -2.4 -1.0 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.47 145.3 144.9 142.3 144.8 0.3 2.1 2.8
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 6719 โทรสาร. 0 2507 5825