รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 3/2556 (กรกฎาคม - กันยายน 2556)

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 19, 2013 16:01 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดการณ์ต่อเศรษฐกิจไตรมาสหน้ายังมีแนวโน้มดี แต่มีความกังวลต่อต้นทุนการผลิต ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะเศรษฐกิจโลก

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2556 (กรกฎาคม - กันยายน 2556) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,836 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 30.8 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 49.5 และไม่ดีร้อยละ 19.7 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 55.5 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึง การคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไตรมาสหน้า ยังมีทิศทางบวกแต่มีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัวลง

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 3/2556
                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 3/56       ดัชนี
        การสำรวจ           ดีขึ้น     ไม่เปลี่ยนแปลง     ลดลง       Q3/56
1. ผลประกอบการ            32.5        47.4         20.1       56.2
2. ต้นทุนต่อหน่วย             52.8        41.4          5.8       73.5
3. การจ้างงาน              17.1        71.9         11.0       53.0
4. การขยายกิจการ           12.9        78.3          8.8       52.0
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
                                             ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q3/56
            ภาค                 จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                                (ราย)                                        Q3/56
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล              243      20.9           59.4       19.7    50.6
2. ภาคกลาง                        251      35.3           48.2       16.5    59.4
3. ภาคเหนือ                        417      31.2           47.2       21.6    54.8
4. ภาคตะวันออก                     125      37.9           45.2       16.9    60.5
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             478      32.9           51.2       15.9    58.5
6. ภาคใต้                          322      28.0           45.5       26.5    50.8
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q3/56
           สาขา              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี
                             (ราย)                                        3/56
1. เกษตรกรรม                   167      36.1           47.0       16.9    59.6
2. อุตสาหกรรม                   470      33.5           48.5       18.0    57.7
3. พาณิชยกรรม                   788      26.9           52.9       20.2    53.4
4. ก่อสร้าง                       57      35.1           54.4       10.5    62.3
5. การเงินและประกันภัย             77      46.1           46.1        7.8    69.1
6. บริการ                       277      41.5           44.0       14.5    63.5
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะภาวะธุรกิจ ไตรมาส 2/2556

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการใช้จ่ายลดลง และผู้ประกอบการระมัดระวังในการลงทุน กอปรกับปัญหาค่าเงินบาทที่มีความผันผวนส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเข้า - ส่งออก

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

เกษตรกรรม การขยายตัวต่อเนื่อง แต่มีปัญหาจากต้นทุนปัจจัยการผลิต ค่าแรง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น

ประกอบกับปัญหาสภาวะภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผลผลิตทางการเกษตร

อุตสาหกรรม ขาดแคลนแรงงานปฏิบัติการ ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหากับการผันผวนของค่าเงินบาททำให้ความสามารถ

ในการแข่งขันลดลง

พาณิชยกรรม ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีการขยายกิจการไปยังภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันสูง

รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

ก่อสร้าง ภาวะธุรกิจขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากข้อจำกัดในด้านแรงงาน และต้นทุนที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบ ค่าแรง

และเชื้อเพลิง

การเงิน ภาคการเงินและประกันชีวิต-ประกันภัย ส่วนใหญ่คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น

แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสภาพตลาดการเงินที่ผันผวนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

บริการ ธุรกิจการให้บริการมีอัตราการขยายตัวที่ไม่สูงมากนักเนื่องจากการชะลอการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน

ประกอบกับเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ธุรกิจจึงควรมีวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นยอดขาย

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การแข่งขันสูง ทำให้รายได้ลดลง ส่งผลต่อผลประกอบการธุรกิจ

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากค่าแรง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง และสาธารณูปโภค

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น กระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก (Labor-intensive Industry) ขาดแคลนแรงงานฝีมือ

และปฏิบัติการ จำนวนมากในธุรกิจบางประเภท

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

ผู้ประกอบการบางประเภทชะลอการขยายกิจการ เนื่องจากการแข่งขันสูง และต้นทุนประกอบการเพิ่มสูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. ควรดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากหลายธุรกิจได้รับผลกระทบจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

2. ควรแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจัง ดูแลความปลอดภัยของประชาชน

3. ควรปรับอัตราค่าจ้างแรงงานให้เหมาะสม เพื่อให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นสามารถอยู่รอดได้

และควรมีมาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน

4. ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม

5. ดูแลค่าครองชีพ และค่าสาธารณูปโภคไม่ให้ปรับตัวสูงจนเกินไป

6.ส่งเสริมด้านเกษตรกรรม เน้นการช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต และพยุงราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ

7.หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม

และ นนทบุรี จำนวน 243 ราย

          ภาคกลาง          13 จังหวัด  ได้แก่  สระบุรี  พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี

สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก

จำนวน 251 ราย

          ภาคเหนือ          17 จังหวัด  ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์

อุตรดิตถ์ ลำพูน น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ

กำแพงเพชร จำนวน 417 ราย น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย

พิจิตร และ กำแพงเพชร จำนวน 417 ราย

          ภาคตะวันออก        7 จังหวัด  ได้แก่  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี  ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว

จำนวน 125 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด

อุดรธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม

หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ และ มหาสารคาม จำนวน 478 ราย

          ภาคใต้            14 จังหวัด  ได้แก่  สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา

ชุมพร พังงา ระนอง สตูล พัทลุง และปัตตานี จำนวน 322 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ (ไตรมาสที่ 2/2556 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2556) ทำการสำรวจ ในเดือนมิถุนายน 2556 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,840 ชุด มีแบบสอบถามเสีย จำนวน 4 แบบ คิดเป็นร้อยละ 0.2 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,836 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 2/2556 ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

ถ้าตอบว่า ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้นจะให้คะแนนเท่ากับ 1

ถ้าตอบว่า ไม่เปลี่ยนแปลง จะให้คะแนนเท่ากับ 0.5

ถ้าตอบว่า ไม่ดีหรือลดลงจะให้คะแนนเท่ากับ 0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา

ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ