จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน131รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกระเบื้องวัสดุฉาบผิวสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาและวัสดุก่อสร้างอื่นๆเพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาวัสดุ ก่อสร้างได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน2556
ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100และเดือนกันยายน2556เท่ากับ 125.9เดือนสิงหาคม2556เท่ากับ 125.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน2556เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม2556สูงขึ้นร้อยละ0.4
2.2 เดือนกันยายน2555สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.3 เฉลี่ยช่วงเดือน(มกราคม -กันยายน2556) เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน2556 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2556สูงขึ้นร้อยละ 0.4(เดือนสิงหาคมสูงขึ้นร้อยละ 0.1) หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 0.9 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวซี เหล็กฉาก เหล็กแผ่นเรียบดำ) เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มสะสมสต็อคเหล็กรอบใหม่ เพื่อเตรียมรับการก่อสร้างหลังจากหมดฤดูฝนหลังจากที่ได้ระบายสต็อคในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้นหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 0.8 (เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังซีเมนต์) เนื่องจากวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นและหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 0.4 (หินคลุก หินย่อย ยางมะตอย) เนื่องจากแหล่งผลิตหายากส่วนยางมะตอยปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ สุขภัณฑ์ ร้อยละ 0.2 (กระจกเงา) เนื่องจากความต้องการใช้ลดลง
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน2556 เทียบกับเดือนกันยายน 2555สูงขึ้นร้อยละ 0.8(เดือนสิงหาคม ไม่เปลี่ยนแปลง) หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 2.9 (เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง-เสริมเหล็กพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง คอนกรีตผสมเสร็จ) เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นได้แก่ ทรายและหิน หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 9.7 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 2.2 (ทราย หินย่อย ดินถมที่ ยางมะตอย)เนื่องจากแหล่งผลิตหายาก และเป็นช่วงฤดูฝน
หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 3.8 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ย (มกราคม-กันยายน) 2556 เทียบกับ(มกราคม-กันยายน) 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.6 สาเหตุจากการสูงขึ้นของหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 4.6(เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง คอนกรีตผสมเสร็จ) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 6.2 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม)และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 2.6 (ทรายถมที่ หินคลุก ทราย หิน ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน กันยายน ปี 2556
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก ก.ย.56 ส.ค.56 ก.ย.55 เฉลี่ย ก.ย.56/ ก.ย.56/ ม.ค.- ก.ย.56/ ส.ค.56 ก.ย.55 ม.ค.- ก.ย.55 ดัชนีรวม 100.00 125.9 125.4 124.9 125.5 0.4 0.8 0.6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 7.09 150.4 150.4 147.0 150.9 0.0 2.3 6.6 ซิเมนต์ 12.21 124.4 124.4 113.4 120.0 0.0 9.7 6.2 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 14.68 130.6 129.5 126.9 128.8 0.8 2.9 4.6 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 24.25 115.0 114.0 119.5 116.5 0.9 -3.8 -6.0 กระเบื้อง 6.48 111.6 111.6 111.5 111.6 0.0 0.1 0.1 วัสดุฉาบผิว 2.73 120.9 120.9 119.5 121.3 0.0 1.2 1.7 สุขภัณฑ์ 2.24 156.2 156.5 151.3 156.0 -0.2 3.2 2.7 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.79 112.1 112.1 115.3 113.1 0.0 -2.8 -1.4 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.52 146.5 145.9 143.4 145.1 0.4 2.2 2.6
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 6719 โทรสาร. 0 2507 5825