รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 4/2556 (ตุลาคม - ธันวาคม 2556) และปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday October 16, 2013 17:16 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดการณ์เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มทางบวก แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และเสถียรภาพทางการเมือง

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 4/2556 (ตุลาคม - ธันวาคม 2556) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,837 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 34.1 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 45.3 และไม่ดี ร้อยละ 20.6 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 56.8 ขณะที่การคาดการณ์ปี 2557 ดัชนีฯ มีค่า 63.0 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึง การคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจในอนาคต ยังมีทิศทางบวก แต่ยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งยังมีความเปราะบาง รวมทั้งต้นทุนที่สูงขึ้น และเสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 4/2556 และปี 2557
                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ไตรมาส 4/56       ดัชนี      ปี 57
        การสำรวจ           ดีขึ้น     ไม่เปลี่ยนแปลง     ลดลง       Q4/56
1. ผลประกอบการ            33.5         48.0        18.5       57.56      2.5
2. ต้นทุนต่อหน่วย             55.6         39.1         5.3       75.27      8.8
3. การจ้างงาน              16.7         73.2        10.1       53.35      6.4
4. การขยายกิจการ           12.7         76.5        10.8       51.05      4.5
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
                                             ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q4/56
            ภาค                 จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี     ปี 57
                                (ราย)                                        Q4/56
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล           234         27.9          50.7        21.4     53.3    58.4
2. ภาคกลาง                     303         43.4          42.1        14.5     64.4    71.4
3. ภาคเหนือ                     422         31.0          46.0        23.0     54.0    60.4
4. ภาคตะวันออก                  135         27.6          52.2        20.2     53.7    59.8
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          450         42.0          44.0        14.0     64.0    67.4
6. ภาคใต้                       293         24.8          42.1        33.1     45.9    56.1
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
                                           ร้อยละของดัชนีคาดการณ์ Q4/56
           สาขา              จำนวน       ดีขึ้น       ไม่เปลี่ยนแปลง    ลดลง     ดัชนี     ปี 57
                             (ราย)                                        4/56
1. เกษตรกรรม                   167      26.5           54.2       19.3    53.6     66.7
2. อุตสาหกรรม                   495      31.2           49.6       19.2    56.0     62.5
3. พาณิชยกรรม                   753      32.6           52.3       15.1    58.7     62.3
4. ก่อสร้าง                       55      34.5           45.5       20.0    57.3     58.2
5. การเงินและประกันภัย             95      45.7           43.6       10.7    67.6     70.2
6. บริการ                       272      34.3           48.7       17.0    58.7     64.5
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะภาวะธุรกิจ ไตรมาส 3/2556

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

เศรษฐกิจในภาพรวมขึ้นอยู่กับภาวะการเมือง อุทกภัย ภัยธรรมชาติ ภาระหนี้สินของประชาชน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจ ภาพรวมต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันชะลอตัว แต่เริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกเริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ผลจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่เริ่มขยายตัวดีขึ้น การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจจะมีการปรับตัวดีขึ้น

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

เกษตรกรรม ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้เกิด

โรคระบาดของสัตว์ โดยเฉพาะกุ้ง

อุตสาหกรรม ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นจาก ค่าไฟฟ้า ประปา น้ำมัน และแรงงาน

รวมทั้งการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และเงินบาทที่แข็งค่ากระทบต่อความสามารถ

ในการแข่งขัน

พาณิชยกรรม ธุรกิจซบเซาเนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและจากภาวะน้ำท่วม การแข่งขันสูง ยอดขายลดลง

ก่อสร้าง ภาคการก่อสร้างซบเซา เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน และขาดแคลนแรงงาน

การเงิน ภาคการเงินมีการขยายตัวดี มีสภาพคล่องสูง

บริการ ต้นทุนประกอบการสูงขึ้น ทั้งจากการจ้างงาน การบริหารจัดการ อีกทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

ส่งผลต่อธุรกิจบริการอย่างมาก

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

ยอดขายและกำไรลดลง จากต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่กำลังซื้อน้อยลง และการแข่งขันสูง

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนประกอบการเพิ่มขึ้นจากค่าแรง ราคาวัตถุดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง และค่าสาธารณูปโภค

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงานฝีมือและระดับปฏิบัติการค่อนข้างมาก ประสิทธิภาพแรงงานลดลง มีการเลือกงานซึ่งเป็นผลจาก

การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

ธุรกิจชะลอการขยายกิจการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก การเมือง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะ

1. ควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และมีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากกว่านี้ รวมทั้งเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะ ขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์

2. ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ มาตรการทางด้านภาษี สนับสนุนเงินลงทุน และขยายตลาด รวมทั้งทบทวนอัตราค่าจ้างให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

3. ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ ได้แก่ อาหาร พลังงาน และค่าสาธารณูปโภค ไม่ให้สูงจนเกินไป

4. ส่งเสริมการส่งออก กระตุ้นการท่องเที่ยว และเร่งสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นให้มากขึ้น

5. ควรแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร ควบคุมราคาปัจจัยการผลิตทั้งราคาปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และอาหารสัตว์

6. พัฒนาฝีมือแรงงานและระบบการศึกษาอย่างจริงจัง กระตุ้นเยาวชนเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยเฉพาะสายอาชีพ

7. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง และความสงบใน 3 จังหวัดภาคใต้

8. ปราบปรามคอรัปชั่นโดยให้ถือเป็นวาระแห่งชาติ

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี

จำนวน 234 ราย

          ภาคกลาง          13 จังหวัด  ได้แก่  สระบุรี  พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี

สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม อ่างทอง ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก

จำนวน 303 ราย

          ภาคเหนือ          17 จังหวัด  ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์

อุตรดิตถ์ ลำพูน น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร

และ กำแพงเพชร จำนวน 422 ราย

          ภาคตะวันออก        7 จังหวัด  ได้แก่  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี  ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว

จำนวน 135 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด

อุดรธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม

หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ และ มหาสารคาม จำนวน 450 ราย

          ภาคใต้            14 จังหวัด  ได้แก่  สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา

ชุมพร พังงา ระนอง สตูล พัทลุง และปัตตานี จำนวน 293 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ (ไตรมาสที่ 3/2556 ระหว่างเดือนกรกฏาคม — กันยายน 2556) ทำการสำรวจ ในเดือนกันยายน 2556 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,841 ชุด มีแบบสอบถามเสีย จำนวน 4 แบบ คิดเป็นร้อยละ 0.2 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,837 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 3/2556 ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 16 ตุลาคม 2556 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ

เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

2. การคำนวณดัชนี

เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของภาวะธุรกิจ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

ถ้าตอบว่า ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้นจะให้คะแนนเท่ากับ 1

ถ้าตอบว่า ไม่เปลี่ยนแปลง จะให้คะแนนเท่ากับ 0.5

ถ้าตอบว่า ไม่ดีหรือลดลงจะให้คะแนนเท่ากับ 0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา

ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจไม่ ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ