กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหว ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2557 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา วัสดุก่อสร้างได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2557เท่ากับ 127.4และเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เท่ากับ 126.9(ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อ สร้างเท่ากับ 100)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2557 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกุมภาพันธ์2557สูงขึ้นร้อยละ 0.4
2.2 เดือนมีนาคม2556 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
2.3 เฉลี่ย 3 เดือน (มกราคม -มีนาคม) เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 สูงขึ้นร้อยละ1.0
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม2557 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557สูงขึ้นร้อยละ 0.4(เดือนกุมภาพันธ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1)
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงมี.ค.57 เทียบกับ ก.พ.57
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก +0.8 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ +0.7 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา +0.4 หมวดกระเบื้อง +0.1 หมวดซีเมนต์ -0.1 หมวดสุขภัณฑ์ -0.3 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 0.8(เนื่องจาก ผู้ผลิตเหล็กลดกำลังการผลิตลงตามการ ก่อสร้างที่ชะลอตัวลงช่วงปลายปี 2556 ทำให้ต้นปี 2557สต็อคเหล็กเริ่มลดลงส่งผลให้ราคาเหล็กสูงขึ้น) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆร้อยละ 0.7 (ส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวสูงขึ้นของรายการหินร้อยละ 2.7 เป็นผลจากแหล่งธรรมชาติหายากขึ้น และรายการอลูมิเนียม ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.4 เป็นผลจาก ต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบสูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง)หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 0.4 (ส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวสูงขึ้นจากรายการ ท่อและข้อต่อท่อประปา ตามการสูงขึ้นของราคาเม็ดพลาสติก)
หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 0.1 และหมวดสุขภัณฑ์ ร้อยละ 0.3 (ตามการก่อสร้างที่ชะลอลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี)
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม2557 เทียบกับเดือนมีนาคม 2556สูงขึ้นร้อยละ 1.3(เดือนกุมภาพันธ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.9)
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลง มี.ค.57 เทียบกับ มี.ค.56
หมวดซีเมนต์ +7.1 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต +5.8 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ +4.2 หมวดสุขภัณฑ์ +0.3 หมวดกระเบื้อง +0.1
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก -3.1
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา -2.1
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ -0.9 หมวดวัสดุฉาบผิว -0.7
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ การผลิตและค่าแรง ปรับตัวสูงขึ้นจะเห็นได้จากดัชนีหมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 7.1หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ5.8และ หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3สำหรับหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.2 เป็นผลจากแหล่งธรรมชาติของหิน ทรายและดินหายากขึ้น
หมวดดัชนีราคาที่ลดลง เป็นผลจากภาวะการณ์ก่อสร้างชะลอตัวลงจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีข้อยุติ จะเห็นได้จากดัชนีหมวด อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 2.1หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ลดลงร้อยละ 0.9 และหมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.7สำหรับหมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 เทียบกับ ไตรมาสที่1ของปี 2556สูงขึ้นร้อยละ 1.0โดยมีหมวดดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้น และลดลงดังนี้
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลง ไตรมาส1/57เทียบกับ ไตรมาส2/56
หมวดซีเมนต์ +7.8 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต +6.0 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ +3.7 หมวดสุขภัณฑ์ +0.6
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก -3.6
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา -2.4
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ -0.8 หมวดวัสดุฉาบผิว -0.7 หมวดกระเบื้อง ไม่เปลี่ยนแปลง
สรุปภาพรวมดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสแรกของปี 2557
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสแรกของปี 2557 สูงขึ้นร้อยละ 1.0 ส่วนใหญ่เป็นการสูงขึ้นจากทางด้านซัพพลาย ได้แก่การปรับสูงขึ้นของ ต้นทุนการผลิต ค่าแรงและวัตถุดิบส่งผลให้ดัชนี หมวดซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต วัสดุก่อสร้างอื่นๆ และหมวดสุขภัณฑ์ ปรับตัวสูงขึ้นตาม ขณะที่ด้านดีมานด์ ชะลอตัวลงจากสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อ ทำให้โครงการก่อสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่ยังไม่มีกำหนดเวลาการก่อสร้างที่แน่นอนได้แก่โครงการรถ ไฟฟ้าความเร็วสูง (มีสัดส่วนร้อยละ 39 ของโครงการรวมมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท)ได้ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างตามหัวเมืองใหญ่ๆ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เป็นต้น เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนชะลอตัวลง โดยข้อมูลที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ เดือน ก.พ. 2557 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี มีปริมาณเท่ากับ 3,840 ยูนิต น้อยกว่าปีก่อนถึง ร้อยละ 39 (ข้อมูลจาก AREA) ส่งผลให้ดัชนีหมวดอุปกรณ์ ไฟฟ้าและประปา ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ วัสดุฉาบผิว ปรับตัวลดลง สำหรับหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก นอกจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยในประเทศแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์เหล็กในประเทศจีน ที่มีปริมาณสต็อคเหล็กสูงขึ้นมาก
แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาสที่สองของปี 2557 จะทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 แต่มีแนวโน้มจะขยับขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3-4 เนื่องจากมีโครงการเมกกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ คือ โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง ในเดือน ส.ค.-ต.ค.2557 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาทคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือน พ.ย. 2557 แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีข้อยุติ และปัญหาการขาดแคลน แรงงานและการอ่อนค่าของเงินบาทที่ส่งกระทบต่อวัตถุดิบนำเข้า ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง เป็นต้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน มีนาคม ปี 2557
(2548 = 100)
หมวด ดัชนี อัตราการเปลี่ยนแปลง สัดส่วน น้ำหนัก มี.ค.57 ก.พ.57 มี.ค.56 เฉลี่ย มี.ค.57/ มี.ค.57/ ม.ค.- มี.ค.57/ ก.พ.57 มี.ค.56 ม.ค.- มี.ค.56 ดัชนีรวม 100.00 127.4 126.9 125.8 127.0 0.4 1.3 1.0 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 7.02 150.7 150.7 152.0 150.7 0.0 -0.9 -0.8 ซิเมนต์ 11.94 123.0 123.1 114.8 123.1 -0.1 7.1 7.8 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 14.99 134.9 134.9 127.5 134.9 0.0 5.8 6.0 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 24.26 116.4 115.5 120.1 115.7 0.8 -3.1 -3.6 กระเบื้อง 6.41 111.7 111.6 111.6 111.6 0.1 0.1 0.0 วัสดุฉาบผิว 2.70 120.9 120.9 121.7 120.9 0.0 -0.7 -0.7 สุขภัณฑ์ 2.21 155.8 156.2 155.4 156.1 -0.3 0.3 0.6 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.66 112.2 111.7 114.6 111.9 0.4 -2.1 -2.4 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.81 150.6 149.6 144.5 149.8 0.7 4.2 3.7
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 6719 โทรสาร. 0 2507 5825