รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 1/2557 (มกราคม - มีนาคม 2557)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 23, 2014 12:36 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดเศรษฐกิจไตรมาสหน้ายังมีทิศทางบวก แต่มีความกังวลต่อปัจจัยการเมือง และต้นทุนที่สูงขึ้น

ดัชนี                    Q1/54  Q2/54  Q3/54  Q4/54  Q1/55  Q2/55  Q3/55  Q4/55  Q1/56  Q2/56  Q3/56  Q4/56
สถานการณ์ปัจจุบัน (Q/Q)    51.8    49.2   46.9   42.2   54.1   50.4  48.1    53.0   48.8   46.3   39.5   43.3
คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า   57.2    61.6   62.7   67.0   61.9   58.2  60.9    63.9   59.7   55.5   56.8   55.2
(NQ)

ผลการสำรวจภาวะธุรกิจในช่วงเดือนธันวาคม 2556 จำนวน 1,819 ราย ผู้ประกอบการมีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันยังคงไม่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีเท่ากับ 43.3 เนื่องจากความกังวลกับสถานการณ์ในประเทศ ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้ามีค่าเท่ากับ 55.2 ซึ่งดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่า 56.8 โดยผู้ประกอบการมีความวิตกกังวลต่อปัจจัยการเมือง ค่าครองชีพ และต้นทุนที่สูงขึ้น

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายสาขา

ผู้ประกอบการเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขาการเงินและประกันภัยเท่านั้น เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนักธุรกิจยังมีความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะดีขึ้นในทุกสาขา โดยมีความหวังว่ารัฐบาลจะเข้ามาดูแลช่วยเหลือในด้านต่างๆ

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค

การสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค ปรากฏว่าผู้ประกอบการทุกภูมิภาคมีความเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันไม่ดี เพราะความวิตกกังวลต่อความไม่สงบทางการเมือง จะกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ สำหรับความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทุกภาคยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นยกเว้นภาคเหนือ ยังมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศอยู่

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

1. ความคิดเห็น

1.1 ค่าจ้าง ค่าแรงงาน ต้นทุนการขนส่งค่าน้ำมันและค่าระวางมีแนวโน้มสูงขึ้น

1.2 ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังไม่ได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

เฉพาะทางเช่นนักบัญชี

1.3 ธุรกิจโรงแรมและห้องอาหารได้รับผลกระทบเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

1.4 ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่าลงทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น

1.5 กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอลง

1.6 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขาดเงินทุนหมุนเวียน

2. ข้อเสนอแนะ

2.1 รัฐควรทบทวนและสนันสนุนการส่งออกโดยลดต้นทุนค่าระวางรวมทั้งเพิ่มอัตราชดเชยภาษีส่งออก

และค่าไฟฟ้าให้กับโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออก

2.2 ภาครัฐควรให้ความสำคัญของแผนพลังงานทดแทนให้สิทธิพิเศษการลงทุนเพื่อลดต้นทุนลดการนำเข้าน้ำมันดิบ

2.3 เร่งขยายการลงทุนเพื่อลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศอย่างเร่งด่วน

2.4 ส่งเสริมให้มีเสถียรภาพทางการเมืองทุกด้านไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศ

2.5 ขจัดและลดปัญหาคอรัปชั่นอย่างเร่งด่วนกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ

2.6 ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ

2.7 ลดการออกกฎระเบียบต่างๆเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตของสถานประกอบกิจการเพราะจะเกิดค่าธรรมเนียมรายปี

เพิ่มขึ้นและซ้ำซ้อนกฎระเบียบเดิมๆ

2.8 แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนดูแลความปลอดภัยในชีวิต

และทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว

2.9 ให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งผลกระทบจากอัตราค่าจ้าง

แรงงานที่สูงขึ้น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

2.10 ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านประชาสัมพันธ์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2.11 ส่งเสริมด้านเกษตรกรรม เน้นการช่วยเหลือด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ดูแลต้นทุนปัจจัยการผลิต และพยุงราคา

สินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ