รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2557 (เมษายน - มิถุนายน 2557)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 22, 2014 14:19 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดเศรษฐกิจไตรมาสหน้ายังมีทิศทางบวก แต่มีความกังวลต่อปัจจัยการเมือง และต้นทุนที่สูงขึ้น

ดัชนี                   Q1/54   Q2/54  Q3/54  Q4/54  Q1/55  Q2/55  Q3/55  Q4/55  Q1/56  Q2/56  Q3/56  Q4/56  Q1/57
สถานการณ์ปัจจุบัน (Q/Q)    51.8    49.2   46.9   42.2   54.1   50.4  48.1    53.0   48.8   46.3   39.5   43.3   38.0
คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า   57.2    61.6   62.7   67.0   61.9   58.2  60.9    63.9   59.7   55.5   56.8   55.2   49.2
(NQ)

ผลการสำรวจภาวะธุรกิจในช่วงเดือนมีนาคม 2557 จำนวน 1,869 ราย ผู้ประกอบการมีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ชะลอตัวลง โดยค่าดัชนีเท่ากับ 38.0 เนื่องจากความกังวลกับสถานการณ์ทางการเมือง ต้นทุนการประกอบธุรกิจที่สูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจซบเซา การใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้ามีค่าเท่ากับ 49.2 ซึ่งดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มีค่า 55.2 เพราะผู้ประกอบการยังมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายสาขา

ผู้ประกอบการทุกสาขาเห็นว่าภาวะธุรกิจปรับตัวลดลง จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ภัยธรรมชาติทั้งพายุฤดูร้อน และภัยแล้งในหลาย พื้นที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ปริมาณการสั่งซื้อลดลง กระทบต่อการประกอบธุรกิจ และภาคบริการ โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศมีจำนวน ลดลง เนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ภายในประเทศ

อย่างไรก็ตามนักธุรกิจยังมีความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่มีอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้นสาขาก่อสร้างที่คาดว่ายังไม่ดีขึ้น เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซา การลงทุนของภาครัฐและเอกชนยังคงชะลอตัวผู้ประกอบการเห็นว่า ภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้น

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค

การสำรวจภาวะธุรกิจรายภาคต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่าผู้ประกอบการในทุกภาคของประเทศเห็นว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลง จากค่าดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 สาเหตุหลักมาจากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุน อีกทั้งต้นทุนการผลิตยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการยังมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ผลไม้กำลัง ออกสู่ตลาด ขณะที่ผู้ประกอบการในกรุงเทพและปริมณฑล ภาคเหนือ และภาคใต้ คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ผู้ประกอบการเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขาการเงินและ

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

1. ความคิดเห็น

1.1 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน

1.2 ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทยังคงสร้างปัญหาต่อธุรกิจ อีกทั้งแรงงานก็ไม่มีคุณภาพ

1.3 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ขาดเงินทุนหมุนเวียน

1.4 ธุรกิจส่งออกได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน

1.5 หลายภูมิภาคกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรมีปริมาณลดลง

1.6 ธุรกิจมีการแข่งขันสูง กำไรลดลง ขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง เนื่องจากค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น

1.7 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจาก ค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค วัตถุดิบ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. ข้อเสนอแนะ

2.1 ควรเร่งจ่ายเงินค่าจำนำข้าวแก่เกษตรกรให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ

2.2 หาทางออกที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้

2.3 ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากกระทบต่อภาคการส่งออกเป็นอย่างมาก

2.4 แก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีเหตุการณ์ความไม่สงบ

เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในพื้นที่

2.5 ดูแลภาคการเกษตรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะราคาปัจจัยการผลิตและระบบตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

2.6 แก้ไขปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำ

2.7 ส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต

2.8 ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

2.9 เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

2.10 ลดภาษีและปรับเพิ่มอัตราชดเชยภาษีส่งออกให้สูงขึ้น

2.11 เปิดตลาดใหม่เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านการส่งออก

2.12 ดูแลค่าครองชีพและควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้สูงจนเกินไป

2.13 กำหนดมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่โรงงานต่างๆ

2.14 อบรมผู้ประกอบการเกี่ยวกับทิศทางการค้าและการลงทุน และพัฒนาทักษะของแรงงาน

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ