รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 12, 2014 07:47 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและค่าครองชีพส่งผลให้ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นฯ

          ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคม 2557 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทุกจังหวัด จำนวน  3,307 คน โดยจัดเก็บข้อมูลความคิดเห็นในช่วงระหว่างวันที่ 1- 16 พฤษภาคม 2557  พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ มีค่า  28.5  เดือนเมษายน มีค่า 29.8  สำหรับดัชนี ความเชื่อมั่นฯ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันมีค่า 21.0 เดือนเมษายน มีค่า 23.0 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 33.6  เดือนเมษายน มีค่า 34.3  ซึ่งค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50  สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่หลายฝ่ายยังคงหาทางออกไม่ได้  ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว           อีกทั้ง ค่าเงินบาทอ่อนค่า  ค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น จากราคาน้ำมันและการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาก๊าซหุงต้ม เดือนนี้เป็นช่วงเปิดเทอมผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการบริโภคและจับจ่ายใช้สอยเท่าที่จำเป็น มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน จ. เชียงราย ซึ่งสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน

ส่วนความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) และ การวางแผนซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆรวมทั้งการวางแผนซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับที่ไม่มีความเชื่อมั่นฯ อย่างต่อเนื่อง จากการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจ สินค้าภาคการเกษตรมีราคาตกต่ำและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาหลายเดือน ส่งผลให้ประชาชนไม่มีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจึงลดการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็นลง

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

รายการ                    พ.ย. 56   ธ.ค. 56   ม.ค. 57   ก.พ. 57   มี.ค. 57   เม.ย.57   พ.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม           35.1      33.6      29.5      26.7      27.5      29.8      28.5

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                           พ.ย. 56      ธ.ค. 56      ม.ค. 57      ก.พ. 57     มี.ค. 57    เม.ย. 57    พ.ค. 57
รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)         48.1         46.9         42.7         40.1        40.2       41.5        41.4
                                                  ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ
รายการ                                     พ.ย. 56     ธ.ค. 56      ม.ค. 57     ก.พ. 57     มี.ค. 57    เม.ย. 57    พ.ค. 57
โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน                      25.8        24.3         22.2        20.2        19.9        22.2       21.6
โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)       28.9        28.2         27.8        25.2        25.8        26.4       26.3

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                                  พ.ย. 56      ธ.ค. 56      ม.ค. 57     ก.พ. 57     มี.ค. 57     เม.ย. 57    พ.ค. 57
การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน        61.9         58.0         60.0        57.8        53.5         57.0       56.2
การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า         14.5         15.5         14.3        13.4        14.6         14.5       14.5
การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน       20.2         20.1         18.4        17.6        18.6         19.0       18.8
ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2557 ในทุกภาคยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ค่า 50 แสดงว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่หลายฝ่ายยังคงหาทางออกไม่ได้ มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน จ. เชียงราย ซึ่งสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ หลายจังหวัดในทุกภาคได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ราคาผลไม้ปรับลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ชาวนาหลายรายที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว เกิดเหตุระเบิดในพื้นที่หาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งสร้างความเสียหายและ ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯรายภาคเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่า ภาคกลาง จาก 34.9 เป็น 32.2 ภาคเหนือ จาก 30.2 เป็น 28.1 ภาคตะวันออก จาก 32.1 เป็น 28.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 32.9 เป็น 29.1 กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 25.8 เป็น 28.1 และภาคใต้ จาก 23.7 เป็น 24.9

การอ่านค่าดัชนี ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ "ดี"
  • ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ "ไม่ดี"

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเผยแพร่ทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

ปัญหาต่างๆที่ ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข พิจารณาตามสัดส่วน ดังนี้

หน่วย : ร้อยละ

พื้นที่                      ราคาสินค้า      ราคาน้ำมัน        ค่าครองชีพ      เศรษฐกิจทั่วไป        การว่างงาน        คอรัปชั่น      ยาเสพติด
ประเทศไทย                    16.3          13.8            13.2             12.9             10.1           9.6          6.7
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล               17.8          11.6            13.4             12.1              8.6          11.5          7.9
ภาคกลาง                      15.4          15.7            11.4             12.9             10.6           9.4          5.5
ภาคเหนือ                      17.0          15.3            13.7             13.8             10.4           7.2          5.0
ภาคตะวันออก                   15.8          15.2            13.5             10.2             10.4          11.5          8.6
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           14.9          12.0            13.8             13.3             10.4          10.1          7.4
ภาคใต้                        16.7          14.7            13.1             14.2             11.0           8.4          6.3
โดยภาพรวมผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ

ด้านเศรษฐกิจ
          1.แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ  อาหาร ก๊าซหุงต้ม/น้ำมัน และ  ค่าสาธารณูปโภค
          2.แก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เช่น ข้าว มันและอ้อย เป็นต้น อีกทั้ง ต้องการให้เร่งการจ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าวโดยเร็ว
          3.ส่งเสริมนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง

ด้านสังคม
          1.ยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ประชาชนต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบ
          2.ปราบปรามการทุจริต ลดปัญหาการโกงกินและคอรัปชั่น
          3.ปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติด
          4.แก้ไขปัญหาโครงสร้างภาคแรงงานโดยเฉพาะปัญหาการว่างงาน
          5.แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

                                     ---------------------------------------

          ที่มา:  สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
                โทร 0 2507 7000   โทรสาร 0 2507 5825

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ