รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2557 (กรกฎาคม -กันยายน 2557)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 7, 2014 14:14 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดเศรษฐกิจไตรมาสหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีความกังวลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโลก
ดัชนี                      Q2/11  Q3/11   Q4/11  Q1/12  Q2/12   Q3/12  Q4/12   Q1/13   Q2/13  Q3/13  Q4/13   Q1/14   Q2/14
สถานการณ์ปัจจุบัน        (Q/Q)49.2   46.9    42.2   54.1   50.4    48.1   53.0    48.8    46.3   39.5   43.3    38.0    43.0
คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า  (NQ)61.6   62.7   67.06    1.9   58.2    60.9   63.9    59.7    55.5   56.8   55.2    49.2    61.4

ผลการสำรวจภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2557 จำนวน 1,790 ราย ดัชนีภาวะธุรกิจมีค่า 43.0 สูงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 38.0 เนื่องจากความกังวลกับสถานการณ์ทางการเมือง ต้นทุนการประกอบธุรกิจที่สูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจโลก และค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้ามีค่า 61.4 ซึ่งดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่มีค่า 49.2 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาสหน้ามีทิศทางที่ดีขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการบริหารประเทศ มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การคืนเงินโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้น

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายสาขา

ผู้ประกอบการเกือบทุกสาขาเห็นว่าภาวะธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น ยกเว้นสาขาเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ฝนทิ้งช่วง ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง วัตถุดิบราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ปัญหาโรคระบาดในกุ้ง ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการเลี้ยง และการขยายบ่อเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งประสบกับภาวะการแข่งขันสูง ขณะที่สาขาบริการยังทรงตัว ผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ

อย่างไรก็ตามนักธุรกิจยังมีความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจจะดีขึ้น หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาบริหารประเทศ และเริ่มมีการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้านให้ดีขึ้น รวมถึงมีมาตรการเร่งด่วนในการคืนเงินโครงการรับจำนำข้าวที่ค้างจ่ายให้แก่ชาวนา จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นาภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขาการเงินและ

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค

ภาวะธุรกิจรายภาคต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีแนวโน้มดีขึ้นแต่อยู่ในระดับที่ผู้ประกอบการในทุกภาคยังขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น จากราคาน้ำมัน ค่าแรง วัตถุดิบ ค่าสาธารณูปโภค และค่าครองชีพสูง ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว

สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการในทุกภาคมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลาย จะส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เร่งดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อผลักดันการใช้จ่ายจากภาครัฐ มาตรการสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 8 แห่ง การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 และการจัดทำงบประมาณปี 2558 ผู้ประกอบการเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขา

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

1. ความคิดเห็น

1.1 ขาดแคลนแรงงานฝีมือ ประกอบกับแรงงานโยกย้ายงานบ่อย

1.2 ผลกระทบค่าแรง 300 บาท และราคาน้ำมันแพง ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย

1.3 ผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ไม่มั่นใจด้านการเมือง

1.4 ธุรกิจฟาร์มกุ้งมีสภาพแย่เพราะโรคติดต่อทำให้กุ้งตาย ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ทำให้มีการชะลอการเลี้ยงและการขยายบ่อเลี้ยงเพิ่ม

1.5 อุตสาหกรรมรถยนต์มีการแข่งขันสูง กำลังซื้อลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีผลทำให้เกิดการหดตัวในอุตสาหกรรมรถยนต์

1.6 การท่องเที่ยวของกรุ๊ปทัวร์ลดลง เพราะเป็นช่วง Low Season และความไม่มั่นใจทางการเมือง

1.7 สภาพทั่วไปภาวะธุรกิจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง

1.8 ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เกษตรกรรับภาระต้นทุนสูง และขาดเงินทุนหมุนเวียน

1.9 ตั้งแต่ปลายปี 2556 ธุรกิจเงียบมาก แต่คาดว่าจะดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2557

2. ข้อเสนอแนะ

2.1 แก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และขจัดคอร์รัปชั่น โดยให้เป็นวาระแห่งชาติ

2.2 ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ

2.3 กระตุ้นการท่องเที่ยวให้มากขึ้น โดยมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ภาพรวมให้มากกว่าปกติ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ในช่วง Low Season

2.4 ปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตต่อไร่

2.5 ภาครัฐควรดูแลค่าครองชีพ และค่าสาธารณูปโภคไม่ให้สูงจนเกินไป

2.6 ไม่ควรมีนโยบายรับจำนำสินค้าใดๆ ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด

2.7 เร่งใช้งบประมาณสำหรับการตลาดทั้งในและต่างประเทศให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)เป็นพิเศษ เช่น งานแสดงสินค้า

2.8 จัดงานคาราวานสินค้า หรือสินค้าราคาประหยัดให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และเป็นการช่วยระบายสินค้า ของผู้ประกอบการ

2.9 พัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงจัง เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันขาดความเชี่ยวชาญ

2.10 เร่งให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว จะทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นและเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น

2.11 ขอให้มีการเสริมเม็ดเงินเข้าสู่โครงการพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ทางรางที่สะดวกปลอดภัย

2.12 พัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ AEC และควรจะให้มีคนพร้อมที่จะทำงาน เช่น ระบบ Single window

2.13 ควรลดภาษีต่างๆ และเงินประกันสังคมลงตามภาวะเศรษฐกิจ

2.14 หามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ

2.15 รัฐช่วยลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมให้การผลิตมีมาตรฐานที่ดี

2.16 ส่งเสริมให้มีตลาดการค้าถาวร ทั้งกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด เพื่อรองรับผลผลิตได้อย่างเพียงพอ

2.17 เพิ่มช่องทางการตลาด อบรมให้ความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ และสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

จังหวัดที่ทำการสำรวจ ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี จำนวน 189 ราย

ภาคกลาง 13 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ และ นครนายก จำนวน 266 ราย

ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ ลำพูน น่าน นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ พะเยา แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร และ กำแพงเพชร จำนวน 435 ราย

ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว จำนวน 118 ราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุดรธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ สกลนคร นครพนม เลย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และ มหาสารคาม จำนวน 463 ราย

ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส ยะลา ชุมพร พังงา สตูล ระนอง พัทลุง และปัตตานี จำนวน 319 ราย

ระยะเวลาการสำรวจ

ดำเนินการสำรวจทุก ๆ 3 เดือน สำหรับไตรมาสนี้ ( ไตรมาสที่ 2/2557 ระหว่างเดือนเมษายน- มิถุนายน 2557 ) ทำการสำรวจในเดือนมิถุนายน 2557 โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จำนวน 1,794 ชุด มีแบบสอบถามเสีย จำนวน 4 แบบ คิดเป็นร้อยละ 0.2 รวมแบบสอบถามที่ใช้ในการประมวลผลจำนวน 1,790 ชุด

การประมวลผลและการคำนวณดัชนี

ไตรมาสที่ 2/2557 ได้ทำการประมวลผลในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 และทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การคิดสัดส่วนร้อยละ เป็นการประมวลผลโดยนำผลการสำรวจมาคำนวณร้อยละของผู้ตอบในแต่ละคำตอบ(ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

2. การคำนวณดัชนี เป็นการนำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงเฉพาะทิศทางของ ภาวะธุรกิจ( ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ดี)

การคำนวณดัชนีมีขั้นตอนดังนี้

1. แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ดังนี้

          ถ้าตอบว่า           ดีขึ้นหรือเพิ่มขึ้นจะให้คะแนนเท่ากับ1
          ถ้าตอบว่า        ไม่เปลี่ยนแปลง จะให้คะแนนเท่ากับ0.5

ถ้าตอบว่า ไม่ดีหรือลดลง จะให้คะแนนเท่ากับ0

2. นำร้อยละของผู้ตอบว่าดีบวกกับร้อยละของผู้ตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงที่คูณด้วย 0.5 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุดเท่ากับ 0

การอ่านค่าดัชนี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจดี

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น0 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่าธุรกิจไม่ดี

หากระดับดัชนีเหนือเส้น 50 แสดงว่าภาวะธุรกิจยังคงขยายตัว ทั้งนี้ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึงว่า ภาวะธุรกิจ ไม่ดีหรือชะลอตัว

หากระดับดัชนีต่ำกว่าเส้น 50 แสดงว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดี ขึ้นหรือฟื้นตัว

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ