รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 6, 2014 15:37 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายน 2557

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และสูงสุดในรอบ 115 เดือน

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2557 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทุกจังหวัด จำนวน 3,167 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ มีค่า 45.8 เดือนสิงหาคม มีค่า 44.0 โดยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันมีค่า 40.6 เดือนสิงหาคม มีค่า 38.3 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 49.2 เดือนสิงหาคม มีค่า 47.8 แม้ว่า ค่าดัชนีทุกรายการจะมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพ การชะลอตัวของเศรษฐกิจส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ตัวเลขการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและฝนที่ตกหนักใน หลายพื้นที่ส่งผลให้บ้านเรือนเสียหายประชาชนได้รับความเดือดร้อน ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ทั้งนี้ประชาชนยังมีความคาดหวังว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่เข้ามาบริหารประเทศ จะเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2558 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการต่างๆที่จะช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้ง เร่งรัดการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 20 เดือนและอยู่ในระดับที่ 53.3 ซึ่งสูงกว่าที่ระดับ 50 แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อรายได้ ในอนาคตและคาดหวังว่าการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ส่วนการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่มีความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาค่าครองชีพที่ปัจจุบันรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ หลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม       27.5          29.8          28.5           38.4          41.4           44.0          45.8

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

รายการ                           มี.ค. 57  เม.ย. 57  พ.ค. 57      มิ.ย. 57     ก.ค. 57     ส.ค. 57      ก.ย. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน     20.1      23.0     21.0         30.4        35.4        38.3        40.6
ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต     32.4      34.3     33.6         43.7        45.4        47.8        49.2

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                          มี.ค. 57     เม.ย. 57      พ.ค. 57      มิ.ย. 57     ก.ค. 57      ส.ค. 57     ก.ย. 57
รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)        40.2         41.5         41.4         47.9         49.2        50.2        53.3

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                                    มี.ค. 57    เม.ย. 57    พ.ค. 57     มิ.ย. 57   ก.ค. 57   ส.ค. 57    ก.ย. 57
โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน                     19.9        22.2       21.6        25.4      29.3      30.6       31.2
โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)      25.8        26.4       26.3        31.7      33.4      36.6       36.3

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                                  มี.ค. 57     เม.ย. 57    พ.ค. 57     มิ.ย. 57    ก.ค. 57     ส.ค. 57   ก.ย. 57
การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน        53.5        57.0        56.2        58.3       55.0        55.4      56.6
การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า         14.6        14.5        14.5        16.8       16.5        16.6      15.0
การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน
ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า     18.6        19.0        18.8        22.1       22.0        21.8      20.9
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค

เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2557 ในทุกภาค (ยกเว้น กรุงเทพฯ/ปริมณฑล) ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่า 50 แสดงว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจาก ฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ราคาสินค้า ทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคายางพาราและน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในภาคใต้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ ส่วน กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 49.8 เป็น 52.6 ภาคเหนือ จาก 41.2 เป็น 47.0 ภาคตะวันออก จาก 45.2 เป็น 47.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 47.5 เป็น 49.9 ส่วนภาคกลางปรับตัวลดลง จาก 45.0 เป็น 44.1 และภาคใต้จาก 33.0 เป็น 30.7 บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ

ด้านเศรษฐกิจ

1. ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น ดูแลปัญหาค่าครองชีพของประชาชน

          2.   ลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรกรรม เช่น ค่าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น อีกทั้ง ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่        ตกต่ำมาก โดยเฉพาะยางพารา ข้าวและข้าวโพด

3. กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย แก้ไขเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ช่วยเหลือและส่งเสริมการส่งออก

4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

ด้านสังคม

1.แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ปราบปรามการทุจริต แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด

2.แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.แก้ไขปัญหาการว่างงาน ปัญหาหนี้นอกระบบ

4.ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ทำกิน ปรับเพิ่มเบี้ยคนชรา พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

5.พัฒนา/สนับสนุนการศึกษา เพื่อให้เยาวชนไทยมีศักยภาพเทียบเท่าต่างประเทศ

กลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจการค้า

สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ