รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 7, 2014 15:03 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2557

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2557 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทุกจังหวัด จำนวน 3,343 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ มีค่า 41.4 เดือนมิถุนายน มีค่า 38.4 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันมีค่า 35.4 เดือนมิถุนายน มีค่า 30.4 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 45.4 เดือนมิถุนายน มีค่า 43.7 ซึ่งค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่า ภาพรวมของสถานการณ์บ้านเมืองจะมีความสงบมากขึ้น นโยบายต่างๆของ คสช. เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในปัจจุบันปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาจาก 58.3 เป็น 55.0 ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ภาวะหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รายได้ของเกษตรกรลดลงจากการที่ต้นทุนการทำนาที่สูงขึ้น แต่ขายข้าวไม่ได้ราคา อีกทั้ง ยางพารา น้ำมันปาล์ม ยังมีราคาตกต่ำ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนซึ่งหากเป็นไปในระยะยาวจะยิ่งทำให้ภาวะหนี้ของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีแนวโน้มที่แน่นอนในการฟื้นตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและภาคการส่งออกของไทย

ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวังว่าการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. รวมทั้ง นโยบายต่างๆจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ส่วนการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ปรับลงลด เนื่องจากประชาชนมีความกังวลในภาวะค่าครองชีพ ราคาสินค้าทางการเกษตร รวมทั้ง ผลไม้ตามฤดูกาลที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมากส่งผลให้ราคาตกต่ำ และฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม         29.5          26.7          27.5           29.8           28.5           38.4        41.4

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

รายการ                          ม.ค. 57      ก.พ. 57     มี.ค. 57      เม.ย. 57     พ.ค. 57     มิ.ย. 57     ก.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต     34.3        31.3        32.4          34.3        33.6        43.7        45.4

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                                   ม.ค. 57     ก.พ. 57      มี.ค. 57   เม.ย. 57    พ.ค. 57    มิ.ย. 57    ก.ค. 57
โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน                    22.2        20.2        19.9        22.2       21.6       25.4       29.3
โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)     27.8        25.2        25.8        26.4       26.3       31.7       33.4

ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ

รายการ                                  ม.ค. 57      ก.พ. 57     มี.ค. 57    เม.ย. 57    พ.ค. 57      มิ.ย. 57    ก.ค. 57
การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน        60.0         57.8        53.5       57.0        56.2        58.3         55.0
การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า         14.3         13.4        14.6       14.5        14.5        16.8         16.5
การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน
ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า     18.4         17.6        18.6       19.0        18.8        22.1         22.0
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม 2557 ในทุกภาคยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่า 50 แสดงว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ แต่มีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจาก การเข้าบริหารประเทศของ คสช. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเมืองมีความสงบประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจากการที่ทาง คสช.ออกนโยบายต่างๆเพื่อเข้ามาช่วยเหลือชาวนา ชาวสวนยางพาราและการจัดหาพันธุ์กุ้งในเกษตรกร รวมทั้ง การกระจายผลไม้ออกสู่ตลาดนอกแหล่งผลิตเพื่อช่วยเหลือชาวสวนที่ราคาผลผลิตตกต่ำ ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯเกือบทุกภาคสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา กล่าวคือ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 43.2 เป็น 49.7 ภาคกลาง จาก 36.4 เป็น 42.2 ภาคตะวันออก จาก 37.4 เป็น 44.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 38.0 เป็น 39.8 และภาคใต้ จาก 37.6 เป็น 39.3 ส่วนภาคเหนือปรับลดลง จาก 36.7 เป็น 34.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติฝนตกหนักในหลายพื้นที่ พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย

บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ

ด้านเศรษฐกิจ

1.แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบอย่างมาก รายได้ไม่เพียงพอ ต่อค่าใช้จ่าย

2.ต้องการให้ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น อาหาร ก๊าซหุงต้ม/น้ำมัน และค่าสาธารณูปโภคค่าประปา/ค่าไฟฟ้า

3.ลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะต้นทุนการทำนาที่ปรับสูงขึ้น ชาวนาได้รับความเดือดร้อน และต้องแบกรับปัญหาขาดทุนจากการขายข้าว

4.แก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ เช่น ข้าว ยางพารา น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเพื่อให้เกิดการลงทุนและเป็นผลดีต่อภาคแรงงาน

ด้านสังคม

1.ปราบปรามการทุจริต สร้างความโปร่งใสและเป็นธรรม ลดปัญหาการโกงกินและคอรัปชั่น

2.ปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติด

3.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น

4.แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

5.เร่งพัฒนาประเทศให้ก้าวทันประเทศอื่น

6.สร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน

7.แก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน รวมทั้งปรับเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง

กลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจการค้า

ศูนย์ดัชนีและพยากรณ์เศรษฐกิจการค้า 7 สิงหาคม 2557

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ