จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558 เท่ากับ 117.1 และเดือนตุลาคม 2558 เท่ากับ 118.0 (ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.8
2.2 เดือนพฤศจิกายน 2557 ลดลงร้อยละ 6.7
2.3 เฉลี่ย 11 เดือน (มกราคม – พฤศจิกายน 2558) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.9
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558 เทียบกับเดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.8 (เดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.8)
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลง พ.ย.58 เทียบกับ ต.ค.58 หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดซีเมนต์ -0.9 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต -0.1 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก -2.2 หมวดกระเบื้อง ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดวัสดุฉาบผิว ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดสุขภัณฑ์ ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา -1.3 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.9 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 0.1 (เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก) เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายลดลงและไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการลดราคาขายลง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 2.2 (เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง เหล็กแผ่นเรียบดำ แผ่นแสตนเลส ตะปู) ราคาลดลงตามราคาเหล็กในตลาดโลก หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 1.3 (สายเคเบิล สายไฟฟ้า) เนื่องจากทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบราคาลดลงตามราคาตลาดโลก หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว หมวดสุขภัณฑ์ และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นผลจากการก่อสร้างโดยรวมยังทรงตัว นักลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุน ทำให้ความต้องการใช้วัสดุในการก่อสร้างลดลง
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2557 ลดลงร้อยละ 6.7 (เดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ 6.5)
หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลง พ.ย.58 เทียบกับ พ.ย.57
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ +0.7 หมวดซีเมนต์ -4.6 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต -2.5 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก -19.5 หมวดกระเบื้อง ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดวัสดุฉาบผิว ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดสุขภัณฑ์ ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา -5.4 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ -3.0
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 4.6 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 2.5 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 19.5 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 5.4 และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ลดลงร้อยละ 3.0 เนื่องจากวัตถุดิบราคาลดลงตามราคาปิโตรเลียม ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง อีกทั้งมีเหล็กจากจีนเข้าสู่ตลาดในประเทศมาก หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากต้นทุนด้านการบริหารจัดการสูงขึ้น หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์ เนื่องจากภาวะการก่อสร้างชะลอตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ 5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ย มกราคม – พฤศจิกายน 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.9 หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้นและลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลง ม.ค.-พ.ย.58 เทียบกับ ม.ค.-พ.ย.57
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ +1.1 หมวดซีเมนต์ -3.6 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต -1.0 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก -14.8 หมวดกระเบื้อง +0.1 หมวดวัสดุฉาบผิว ไม่เปลี่ยนแปลง หมวดสุขภัณฑ์ -0.1 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา -5.2 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ -1.2
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 3.6 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 1.0 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 14.8 หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.1 หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 5.2 และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบลดลงตามราคาในตลาดโลก เช่น ปิโตรเลียม ทองแดง และเหล็ก ประกอบกับมีเหล็กจากจีนเข้ามาในประเทศปริมาณมาก สำหรับหมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.1 และหมวดกระเบื้องสูงขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากต้นทุนประกอบการ เช่น วัตถุดิบ ค่าบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดวัสดุฉาบผิว ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมการก่อสร้างยังไม่ฟื้นตัว เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทรงตัวจากการที่คอนโดมิเนียมล้นตลาด ภาคเอกชนชะลอการลงทุน ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5808 โทรสาร. 0 2507 5825