ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายน 2559
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2559 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทุกจังหวัด จำนวน 3,500 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ มีค่า 36.2 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 ที่มีค่า 38.9 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันมีค่า 29.7 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่มีค่า 33.8 รวมทั้ง ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต(3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 40.5 ปรับลดลงเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่มีค่า 42.2 ซึ่งค่าดัชนีทุกรายการปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูมรสุม มีฝนตกหนักและต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อน ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นภาวะซ้ำเติมจากช่วงปัญหาภัยแล้ง ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการเพาะปลูก มีหนี้สะสมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้เร่งออกมาตรการต่างๆช่วยเหลือโดยอัดฉีดเงินลงในระบบ รวมทั้ง ปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร แต่ภัยธรรมชาติก็ยังคงเป็นปัญหาหลักของภาคการเกษตร ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดหนี้ครัวเรือนสะสมระยะยาว และผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง มีการฟื้นตัวสลับกับการชะลอตัวเป็นระยะ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยบวกมาช่วยพยุงค่าครองชีพของประชาชนไม่ให้สูงขึ้น โดย กบง. มีมติตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ไว้ที่ 20.29 บาทต่อกิโลกรัม และ กกพ. มีมติตรึงค่า Ft ของเดือนกันยายน-ธันวาคม 2559 ส่งผลให้ค่าไฟเฉลี่ยเรียกเก็บอยู่ที่ 3.4227 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 44.5 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีค่า 46.8 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้ภาคเอกชน ปรับลดต้นทุนต่างๆ รวมทั้งชั่วโมงการทำงานของพนักงาน ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อรายได้ลดลงประชาชนจึงระวังการใช้จ่าย ส่งผลให้การวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่มีความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 52.9 โดยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่ระดับ 52.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)
รายการ มี.ค.59 เม.ย.59 พ.ค.59 มิ.ย.59 ก.ค.59 ส.ค.59 ก.ย.59 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 36.0 35.8 35.5 35.1 33.8 38.9 36.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ มี.ค.59 เม.ย.59 พ.ค.59 มิ.ย.59 ก.ค.59 ส.ค.59 ก.ย.59 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 29.8 29.9 29.9 29.1 27.3 33.8 29.7 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 40.0 39.7 39.3 39.1 38.0 42.2 40.5 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ มี.ค.59 เม.ย.59 พ.ค.59 มิ.ย.59 ก.ค.59 ส.ค.59 ก.ย.59 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 45.5 44.2 44.1 43.9 44.2 46.8 44.5 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ มี.ค.59 เม.ย.59 พ.ค.59 มิ.ย.59 ก.ค.59 ส.ค.59 ก.ย.59 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 25.0 25.2 25.3 23.5 21.4 28.6 24.0 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 28.7 29.5 30.2 28.2 26.1 32.3 31.0 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ มี.ค.59 เม.ย.59 พ.ค.59 มิ.ย.59 ก.ค.59 ส.ค.59 ก.ย.59 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 51.2 56.8 55.4 55.4 52.8 52.5 52.9 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 12.1 13.9 11.9 13.2 13.0 15.5 14.0 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 20.7 22.2 22.4 22.0 19.6 23.2 20.8 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2559 ปรับลดลงเกือบทุกภาค ดังนี้ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 46.3 เป็น 39.4 ภาคกลาง จาก 43.4 เป็น 39.2 ภาคเหนือ จาก 41.9 เป็น 37.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 35.6 เป็น 35.1 และภาคใต้ จาก 26.7 เป็น 26.3 ยกเว้น ภาคตะวันออก ที่ปรับเพิ่มขึ้น จาก 35.1 เป็น 35.6 แต่ทั้งนี้ ค่าดัชนีในทุกภาคยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขัง จากการที่ฝนตกหนักและต่อเนื่อง ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อีกทั้ง ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และหนี้ภาคครัวเรือนที่สะสมมานานโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย รวมทั้งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. แก้ไขปัญหาปากท้อง ราคาสินค้าปรับสูงขึ้นแต่ประชาชนมีรายได้ลดลง
2. แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ประคับประคองเศรษฐกิจไทยเพื่อรอจังหวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
3. ส่งเสริมศักยภาพทางธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคได้
4. จัดการระบบภาษีให้เอื้อต่อการลงทุน ลดการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน
5. แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง
6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น
1. ป้องกัน/ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น ให้มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและบทลงโทษที่ชัดเจน
2. ปราบปรามยาเสพติด ลดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคม
3. แก้ไขปัญหาความยากจน หนี้นอกระบบ/หนี้ภาคครัวเรือน
4. แก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความสงบของประเทศ
5. บริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อลดปัญหาภัยแล้ง/น้ำท่วม
6. ดูแลและช่วยเหลือภาระหนี้สินของเกษตรกรให้ทั่วถึง
7. สร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นและโรงพยาบาลในท้องถิ่น/ชุมชนต่างๆที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองให้มีการรักษาพยาบาลที่ดี 8.แก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825