ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2560 ชะลอตัวลง
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2560 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ จำนวน 3,452 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯมีค่า 36.1 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2560 ที่มีค่า 38.5 และค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีค่า 29.7 ปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีค่า 31.8 รวมทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 40.4 ปรับลดลงเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่มีค่า 43.0 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ทุกรายการปรับตัวลดลงและอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประชาชนไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย ส่วนใหญ่มีแต่คนขายของไม่ค่อยมีคนซื้อ เดือนเมษายนมีวันหยุดหลายวัน แรงงานบางส่วนขาดรายได้ รายได้จึงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย หลายพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้ง กังวลต่อค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และภาระค่าใช้จ่ายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนของผู้ปกครอง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ จัดงานลดราคาสินค้าภายใต้ชื่อ " รวมใจ...ช่วยไทย...ลดรับเปิดเทอม " เพื่อเป็นการ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้ง รัฐบาลเปิดลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ พักชำระหนี้เงินต้น และลดดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย
ทั้งนี้ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 47.3 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 50.0 จากความกังวลต่อภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้ง การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองช่วยก่อนเปิดเทอม รวมทั้ง ยังมีภาระหนี้ครัวเรือน ส่งผลให้การวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่มีความเชื่อมั่นและระมัดระวังการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นในปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 56.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่ระดับ 49.9 ซึ่งนับเป็นปัจจัยบวกในการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)
รายการ ต.ค.59 พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 36.4 35.7 39.1 39.2 40.4 38.5 36.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ ต.ค.59 พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 29.4 28.4 32.6 32.4 34.2 31.8 29.7 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 41.1 40.6 43.5 43.7 44.5 43.0 40.4 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ต.ค.59 พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 46.5 46.4 49.7 50.3 51.2 50.0 47.3 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ต.ค.59 พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 24.0 22.9 25.7 24.5 26.5 24.6 21.1 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 29.2 28.1 29.5 29.7 30.4 28.9 26.5 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ต.ค.59 พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 54.9 54.2 54.2 54.3 52.1 49.9 56.3 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 12.4 12.0 12.6 14.2 13.0 13.8 11.9 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 18.4 18.0 19.0 20.1 18.6 19.5 19.4 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน 2560 เกือบทุกภาคได้ปรับตัวลดลง ดังนี้ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 37.0 เป็น 33.4 ภาคกลาง จาก 39.3 เป็น 37.8 ภาคเหนือ จาก 37.5 เป็น 36.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 40.1 เป็น 37.0 และภาคใต้ จาก 39.0 เป็น 35.4 ทั้งนี้ ภาคตะวันออก ดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้น จาก 38.2 เป็น 39.1 และทุกภาคยังมีค่าดัชนีฯอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ ภาระหนี้ครัวเรือนมีผลต่อการใช้จ่ายราคาสินค้าเกษตรบางชนิดปรับตัวลดลง หลายพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลต่อความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของคนในพื้นที่
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. ควบคุมราคาสินค้า ลดค่าครองชีพ และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
2. กระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่คนรากหญ้า เพื่อให้มีกำลังซื้อมากขึ้น
3. ส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
4. ส่งเสริมภาคการเกษตร และแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
5. แก้ปัญหาการว่างงาน ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
6. ส่งเสริมประชาชนในชนบท ให้สามารถพึ่งพาตนเอง
7. ควรลงทุนในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีงานทำ ช่วยลดปัญหาการว่างงาน
8. ลดภาษี เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ทำให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น
9. นโยบายของภาครัฐ ควรทำได้จริง และเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
10. หาตลาดส่งออกสินค้าในต่างประเทศ และกระตุ้นให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ
11. ปรับลดราคาน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
1. แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และอาชญากรรม
2. แก้ไขปัญหายาเสพติด และรักษาความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ปัญหาด้านการศึกษา ควรผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
4. สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน ให้คนไทย และต่างชาติ
5. แก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยส่งเสริมรายได้ และจัดหาที่ทำกินให้กับคนยากจน
6. ปราบปรามอบายมุขต่างๆ ให้หมดไป
7. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
8. ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th