ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีทุกรายการ ทั้งดัชนี ความเชื่อมั่นฯ โดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในปัจจุบัน และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอนาคต รวมทั้ง ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) และการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคม 2560 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 3,344 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯมีค่า 40.3 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2560 ที่มีค่า 36.1 จากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผ่านโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้ง ขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทางไปอีก 5 เดือน นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดราคาขายปลีกก๊าซ LPG 0.47 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้ง ยังมีมหกรรมงานไกล่เกลี่ยข้อหนี้พิพาทชั้นบังคับคดี โดยกรมบังคับคดีร่วมกับสถาบันการเงินและบริษัทต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐเพื่อลดปัญหาหนี้ครัวเรือน ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการส่งออกและการบริโภคที่ยังคงขยายตัวได้ดี การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัว ประกอบกับ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีค่า 33.6 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีค่า 29.7 รวมทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 44.7 ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่มีค่า 40.4 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ทุกรายการปรับเพิ่มขึ้น แต่อยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมีฝนตกหนักและต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 51.0 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 47.3 ด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ในปัจจุบันทรงตัวที่ระดับ 56.3 ค่าดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคต และการจับจ่ายใช้สอย สำหรับการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่มีความเชื่อมั่น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)
รายการ พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 35.7 39.1 39.2 40.4 38.5 36.1 40.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 28.4 32.6 32.4 34.2 31.8 29.7 33.6 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 40.6 43.5 43.7 44.5 43.0 40.4 44.7 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 46.4 49.7 50.3 51.2 50.0 47.3 51.0 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 22.9 25.7 24.5 26.5 24.6 21.1 25.4 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 28.1 29.5 29.7 30.4 28.9 26.5 31.4 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ พ.ย.59 ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 54.2 54.2 54.3 52.1 49.9 56.3 56.3 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 12.0 12.6 14.2 13.0 13.8 11.9 13.5 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 18.0 19.0 20.1 18.6 19.5 19.4 22.0 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคม 2560 ทุกภาคปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 33.4 เป็น 37.0 ภาคกลาง จาก 37.8 เป็น 42.4 ภาคเหนือ จาก 36.2 เป็น 38.1 ภาคตะวันออก จาก 39.1 เป็น 43.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 37.0 เป็น 44.6 และภาคใต้ จาก 35.4 เป็น 38.4 แต่ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขัง จากการที่ฝนตกหนักและต่อเนื่อง ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อีกทั้ง ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. ปรับลดราคาสินค้า ที่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้ค่าครองชีพลดลง
2. ดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่าให้เกิดการเก็งกำไร
3. ส่งเสริมการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน
4. ปรับค่าแรง เพิ่มสวัสดิการ เพื่อให้แรงงานมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
5. กระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน และสร้างบรรยากาศให้เกิดการลงทุน
6. ช่วยเหลือเกษตรกรด้านราคาและผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควบคุมราคาปัจจัยการผลิตต่างๆ
7. สนับสนุนและลดภาษีให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
8. หาตลาดส่งออกสินค้า และพัฒนาสินค้าให้กับ SMEs และ OTOP
9. ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
10. ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มช่องทางการจำหน่าย สนับสนุนธุรกิจครอบครัว ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดหนี้สินภาคครัวเรือน
11. แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนอย่างยั่งยืน
12. แก้ปัญหาการว่างงาน ทั้งผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
13. จัดงานแสดงสินค้า และพื้นที่จำหน่ายสินค้า เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
14. ดอกเบี้ยธนาคารที่สูง สร้างความยากลำบากแก่ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มชนชั้นกลาง
1. แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และอาชญากรรม ประเทศจะได้มีการพัฒนามากกว่านี้
2. แก้ไขปัญหายาเสพติด
3. ให้ความสำคัญด้านการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
4. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ในฐานะปานกลาง มีความอยู่ดีกินดี
5. ช่วยเหลือเด็กยากจน คนพิการ อย่างจริงจัง
6. ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติ
7. แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
8. สร้างเสถียรภาพทางการเมือง
9. แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว
10. สร้างงานในชุมชนให้มากขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
11. รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
12. เพิ่มความรู้ให้กับเกษตรกรโดยการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th