ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลง ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปัจจุบัน และ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอนาคต รวมทั้ง ความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมิถุนายน 2560 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ 77 จังหวัด ทั่วประเทศ จำนวน 3,481 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯมีค่า 39.5 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2560 ที่มีค่า 40.3 จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าเกษตร โดยสถานการณ์ราคายางพารายังตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน รวมถึงโรงงาน วิสาหกิจชุมชนทั้งสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ต้องขาดทุนและขาดสภาพคล่อง ประกอบกับราคาข้าวโพด ปาล์ม และสับปะรด ที่ปรับตัวลดลงมากจากผลผลิตที่ล้นตลาด รวมทั้ง สภาพภูมิอากาศในช่วงหน้าฝนที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการค้า ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงครัวเรือน มีแนวโน้มถดถอยลง นอกจากนี้ การบริโภคในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ชะลอลง ประกอบกับ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากเศรษฐกิจการเงินโลกที่มีความไม่แน่นอนและ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ทั่วถึ อย่างไรก็ดี ครม.อนุมัติงบ 1,841 ล้านบาท โครงการประกันภัยข้าวนาปีประจำปี 2560 ลดเบี้ยประกัน-เพิ่มวงเงินคุ้มครอง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ ให้สามารถได้รับค่าทดแทนต่างๆ โดยอาจขยายผลโครงการไปสู่พืชอื่นๆ ต่อไป และยังมีโครงการประชารัฐเพื่อสังคมของรัฐบาล ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัย สามารถกู้เพื่อซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนให้มากขึ้น
สำหรับค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีค่า 32.9 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่มีค่า 33.6 รวมทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 43.9 ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีค่า 44.7 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ทุกรายการปรับตัวลดลง และอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 49.8 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 51.0 และการวางแผนซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่มีความเชื่อมั่น ขณะที่ การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54.3 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 56.3 แต่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน
รายการ ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 39.1 39.2 40.4 38.5 36.1 40.3 39.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 32.6 32.4 34.2 31.8 29.7 33.6 32.9 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 43.5 43.7 44.5 43.0 40.4 44.7 43.9 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย. 60 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 49.7 50.3 51.2 50.0 47.3 51.0 49.3 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 25.7 24.5 26.5 24.6 21.1 25.4 25.2 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 29.5 29.7 30.4 28.9 26.5 31.4 31.3 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ธ.ค.59 ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 54.2 54.3 52.1 49.9 56.3 56.3 54.3 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 12.6 14.2 13.0 13.8 11.9 13.6 14.9 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 19.0 20.1 18.6 19.5 19.4 22.0 21.3 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 37.0 เป็น 34.9 ภาคเหนือ จาก 38.1 เป็น 37.7 ภาคตะวันออก จาก 43.0 เป็น 39.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 44.6 เป็น 42.6 ขณะที่ภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ภาคกลางจาก 42.4 เป็น 42.5 และ ภาคใต้จาก 38.4 เป็น 40.8 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจาก ความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศในช่วงหน้าฝนที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพของประชาชน สถานการณ์ราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็นราคาผักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับ ความกังวลต่อภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจซื้อลดลง โดยหนี้สินที่เพิ่มขึ้นมาจากการบริโภคล่วงหน้า อาทิ หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (จำนำทอง จำนองบ้าน ฯลฯ) รวมไปถึงหนี้นอกระบบ ซึ่งกระทบต่อการบริโภค จากการขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้ นอกจากนี้ ราคาพลังงานในประเทศที่อาจจะผันผวนตามราคาในตลาดโลกหลังเกิดความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนโดยปรับลดราคาสินค้าที่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้ค่าครองชีพลดลง
2. แก้ไขปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะบัณฑิตจบใหม่
3. ปรับลดราคาค่าบริการรถไฟฟ้า BTS
4. กระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีมาตรการพิเศษด้านการค้าการลงทุนและชะลอการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
6. แก้ปัญหาหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบอย่างจริงจัง เพื่อลดภาระหนี้ภาคครัวเรือน
7. ส่งเสริมภาคธุรกิจค้าปลีกชุมชนให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกสมัยใหม่
8. ให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง
9. ส่งเสริมด้านการตลาดในทุกระดับ ให้มีการเปิดตลาดการค้ากว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียน
1. แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม
2. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและชาวต่างชาติ
3. แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่ระบบ
4. เสริมสร้างรายได้และงานในชุมชนให้มากขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
5. รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
6. ให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. ส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีพให้มากขึ้น
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th