อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกรกฎาคม 2560 โน้มสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.17 (YoY) จากสินค้ากลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลก และผลกระทบฐานสูงจากภาวะภัยแล้งปีที่ผ่านมาคลายตัวลงทำให้อาหารสดขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 7 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 0.60 ซึ่งขยายตัวในระดับที่มีเสถียรภาพ ที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 -1.7
ระดับราคาสินค้าและบริการ ในกรกฎาคม 2560 ลดลงร้อยละ -0.13 จากเดือนมิถุนายน 2560 (MoM) ผลจากกลุ่มอาหารสด (ข้าวสาร เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ผักสด) รวมทั้งเครื่องประกอบอาหาร ขณะที่ ค่ายา ค่าของใช้ส่วนบุคคล ปรับสูงขึ้น โดยมีภาวะความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าสำคัญดังนี้
ข้าวสาร ราคาลดลงร้อยละ -0.61 เช่น ข้าวสารเจ้า จากการลดลงของข้าวบรรจุถุง 5 กก. ที่มีการแข่งขันในห้างสรรพสินค้าลดราคาลง
เนื้อสุกร ราคาลดลงร้อยละ -1.18 ความต้องการบริโภคชะลอตัวลง
ผักสด ราคาลดลงร้อยละ -8.55 เช่น ผักคะน้า ผักชี มะนาว ต้นหอม หัวผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม และมะระจีน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
ไข่ ราคาลดลงร้อยละ -1.53 มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ
เครื่องประกอบอาหาร ราคาลดลงร้อยละ -0.13 เช่น น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม เครื่องปรุงรส มะพร้าวขูด และมะขามเปียก
น้ำมันเชื้อเพลิง ราคาลดลง -0.10 ชะลอตัวลงเล็กน้อย (น้ำมันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 และ LPG )
ค่ายาและเวชภัณฑ์ ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.34 เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ไข้หวัด ยาลดกรดในกระเพาะ วิตามิน/อาหารเสริม และยาคุมกำเนิด
ค่าของใช้ส่วนบุคคล ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.15 เช่น ยาสีฟัน แชมพูสระผม น้ำหอม แปรงสีฟัน และใบมีดโกน
เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2559 อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.17 (YoY) จากทิศทางของการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ตามความเคลื่อนไหวของน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น และแรงกดดันราคาอาหารสดมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเดือนม.ค. - ก.ค. 2560 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.60 (AoA) โดยมีแนวโน้มขยายตัวตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และกำลังซื้อของครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากรายได้เกษตรกร และการผลิตภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแรงหนุนจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และการขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางของประชาชน เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกรกฎาคม 2560
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้สอยครอบคลุม
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าปีฐาน 2558 ทั้งหมด 422 รายการ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกรกฎาคม 2560 สรุปได้ดังนี้ คือ
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกรกฎาคม 2560 (ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100) มีค่าเท่ากับ 100.53 (เดือนมิถุนายน 2560 เท่ากับ 100.66)
2.การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกรกฎาคม 2560 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2.1 เดือนมิถุนายน 2560 (MoM) ลดลง -0.13 2.2 เดือนกรกฎาคม 2559 (YoY) สูงขึ้น +0.17 2.3 เฉลี่ย 7 เดือน 2560 (AoA) (มกราคม - กรกฎาคม 2559) สูงขึ้น +0.60
โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 เทียบเดือนมิถุนายน 2560 (MoM) ลดลง ร้อยละ -0.13 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2560 ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2560 (MoM) ร้อยละ -0.13 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -0.38 จากการลดลงของผักสด (เช่น ผักคะน้า ผักชี มะนาว ต้นหอม หัวผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม มะระจีน) ข้าว (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) รวมทั้ง เนื้อสุกร ไข่ไก่ ไข่เป็ด ที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว และการลดลงของค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาปรับในเดือนนี้เต็มเดือน รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาชะลอตัวลดลงร้อยละ -0.10 (น้ำมันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 LPG ) ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ +0.13 (ยาแก้ไอ ยาแก้ไข้หวัด ยาลดกรดในกระเพาะ วิตามิน/อาหารเสริม ยาคุมกำเนิด ยาสีฟัน แชมพูสระผม น้ำหอม แปรงสีฟัน และใบมีดโกน) หมวดเครื่องนุ่งห่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (กางเกงชั้นในบุรุษ ชุดนอนสตรี เสื้อยืดเด็ก) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.01 (ค่าเช่าบ้าน กระเบื้องซีเมนต์มุงหลังคา ถ่านไม้ ) การสูงขึ้นของ ค่าการศึกษาระดับอาชีวะและอุดมศึกษา รวมทั้งการสูงขึ้นของอาหารสด เช่น ไก่สด ปลาหมึกกล้วย ปลาทูนึ่ง ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง ชมพู่ และทุเรียน เป็นต้น
2.2 เทียบเดือนกรกฎาคม 2559 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ +0.17 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2560 สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2559 (YoY) ร้อยละ +0.17 ได้รับผลกระทบจาก หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ +0.62 (ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าคนรับใช้/คนงาน) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ +0.42 (ค่ายา ค่าทำฟัน ค่าเจาะเลือด ค่าแต่งผมชาย-สตรี) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ +0.73 (น้ำมันเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91 95 แก๊สโซฮอล์E20 E85 NGV LPG รถยนต์) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ +0.68 (ค่าการศึกษา-ค่าเล่าเรียน ค่าห้องพักโรงแรม ค่าทัศนาจรภายใน-ต่างประเทศ ค่าเครื่องถวายพระ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (ไวน์ สุรา) ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีลดลงรอยละ -0.55 ( ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไข่ไก่ กะหล่ำปลี มะเขือเทศ มะนาว พริกสด เงาะ) และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.11 (เสื้อยืดบุรุษ กางเกงว่ายน้ำบุรุษ เสื้อยืดสตรี กางเกงชั้นในสตรี )
2.3 เฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.- ก.ค. 2560) เทียบกับ(ม.ค.-ก.ค.2559) (AoA) สูงขึ้น ร้อยละ +0.60 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลง
ราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.-ก.ค.60 เทียบกับม.ค.-ก.ค.59 สูงขึ้นร้อยละ 0.60 (YoY) ได้รับผลกระทบจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.03 ( ไก่สด ไก่ย่าง ปลาหมึกกล้วย เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป) รวมทั้ง หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ+0.03 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ +0.33 หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ +2.66 (น้ำมันเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์91 95 แก๊สโซฮอล์ E20 E85และน้ำมันเบนซิน 95) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ +0.57 (ค่าการศึกษา-ค่าเล่าเรียน) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.34 (ไวน์ สุรา) ขณะที่หมวดหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -0.42 (ค่ากระแสไฟฟ้า สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด)
3. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560 กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2560 อยู่ระหว่าง ร้อยละ 0.7 - 1.7 ต่อปี โดยมีสมมติฐานหลักคือ
ช่วงประมาณการ
1.การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย (%) 3.50 (3.0 - 4.0) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น
รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคา สินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และการขยายระยะเวลาลดภาระค่าครองชีพด้านการเดินทาง
การส่งออกที่ขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก
จำนวน นักท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบ (USD / Barrel) 50.0 (45.0 - 55.0) ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ไม่แน่นอนของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
การผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา ลิเบีย และไนจีเรีย
ความต้องการฤดูหนาวตามปัจจัยฤดูกาล
ความต้องการใช้ที่สูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
3. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท / USD) 35.0 (34.0 - 36.0) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปี 2560 มีแนวโน้มแข็งค่า
การปรับลดขนาดการถือครองสินทรัพย์ทั้งส่วนของพันธบัตรและอสังหาริมทรัพย์
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด
นโยบายผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการดำเนินธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ช่วยภาคธุรกิจในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
4. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยง
อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการการผลิตและรายได้เกษตรกร ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลง ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
รายได้จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนทั้งทางด้านปริมาณและราคา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กระทบราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ
มาตรการภาครัฐสนับสนุนกำลังซื้อสำหรับครัวเรือนรายได้น้อยและการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2017 ความผันผวนของงค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคการส่งออก และต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825