ความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลง ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปัจจุบัน และ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอนาคต รวมทั้ง ความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า)
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2560 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ 77 จังหวัด ทั่วประเทศ จำนวน 3,486 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ มีค่า 38.6 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2560 ที่มีค่า 39.5 จากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ประชาชนมีความระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยสินเชื่อส่วนบุคคลยังได้รับผลกระทบจากกฎหมายคุมสินเชื่อรายย่อยใหม่ กำลังซื้อของครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ไม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ ความสามารถในการชำระหนี้ของ SMEs ที่ยังคงเห็น NPL สูงขึ้น ส่วนหนึ่งจากปัญหาความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้ง การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ส่งผลให้ตลาดแรงงานตึงตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคเกษตรกรรมและการก่อสร้าง ทั้งนี้ การจ้างงานและค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก กดดันให้กำลังซื้อในประเทศลดลงและฉุดรั้งการบริโภค นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรปรับลดลง ประกอบกับอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้การดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัว รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจนขึ้น และการประกาศใช้ พ.ร.บ. พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จะช่วยให้การลงทุนปรับดีขึ้น
สำหรับค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีค่า 31.9 ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือน ที่ผ่านมาที่มีค่า 32.9 และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) มีค่า 43.1 ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีค่า 43.9 โดยค่าดัชนีฯ ทุกรายการอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 48.2 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 49.8 และการวางแผนซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ/รถยนต์ ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่มี ความเชื่อมั่น ขณะที่ การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54.0 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ที่ระดับ 54.3 แต่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน
รายการ ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ก.ค.60 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 39.2 40.4 38.5 36.1 40.3 39.5 38.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ก.ค.60 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 32.4 34.2 31.8 29.7 33.6 32.9 31.9 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 43.7 44.5 43.0 40.4 44.7 43.9 43.1 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ก.ค.60 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 50.3 51.2 50.0 47.3 51.0 49.8 48.2 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ก.ค.60 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 24.5 26.5 24.6 21.1 25.4 25.2 25.2 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 29.7 30.4 28.9 26.5 31.4 31.3 31.5 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ม.ค.60 ก.พ.60 มี.ค.60 เม.ย.60 พ.ค.60 มิ.ย.60 ก.ค.60 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 54.6 52.1 49.9 56.3 56.3 54.3 54.0 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 14.2 13.0 13.8 11.9 13.6 14.9 13.3 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 20.1 18.6 19.5 19.4 22.0 21.3 19.7 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคกลางจาก 42.5 เป็น 41.7 ภาคเหนือจาก 37.7 เป็น 37.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจาก 42.6 เป็น 42.4 และภาคใต้จาก 40.8 เป็น 35.0 ขณะที่ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล และภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 34.9 เป็น 35.3 และ 39.6 เป็น 41.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจาก ประชาชนมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือนสะสมของผู้ที่มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลาง พรก.แรงงานต่างด้าวที่กระทบต่อแรงงานภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ประกอบกับ น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ รวมทั้ง สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สร้างความเดือดร้อน แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยดำเนินนโยบายให้เศรษฐกิจฟื้นตัวทุกภาคส่วน
2. ลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
3. สอบถามทั้งประชาชน และภาคธุรกิจ ประสบปัญหาอย่างไร
4. แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน และการว่างงาน
5. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถพึ่งตนเองได้
6. กระตุ้นการส่งออก และการท่องเที่ยวให้มากๆ
7. ควบคุมราคาสินค้า และค่าสาธารณูปโภคไม่ให้สูงเกินไป
8. สร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติ รวมทั้งเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน
9. ส่งเสริมธุรกิจ และหาแหล่งเงินทุนให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
10. ควรรับพนักงานที่เป็นคนไทย เพื่อให้มีงานทำ จะได้มีเงินมาใช้จ่าย
11. ส่งเสริมสินค้าโอทอปสู่ตลาดต่างประเทศ
12. ดูแลราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร
13. จัดงานแสดงสินค้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอย
14. รณรงค์ใช้สินค้าไทย เที่ยวเมืองไทย รักในความเป็นไทย
1. ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่น
2. ขจัดยาเสพติด และอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยของประชาชน
3. พัฒนาการศึกษา และแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน
4. ควรมีบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง โดยการบังคับใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรม เช่น คดีข่มขืน ทำร้ายเด็กและสตรี
5. สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคม
6. ส่งเสริมการประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ให้มากขึ้น
7. ผลิตแรงงานให้ตรงความต้องการของตลาด
8. ส่งเสริมอาชีพอิสระให้ผู้สนใจทั่วไป
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th