ดัชนีราคาส่งออก เดือนสิงหาคม 2560 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (YoY) เป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทุกหมวดสินค้า ตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก ยางพารา ข้าว ไก่และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลทราย
ดัชนีราคานำเข้า เดือนสิงหาคม 2560 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 ปรับสูงขึ้นร้อยละ 3.7 (YoY) เป็นผลจากการปรับสูงขึ้นของหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นหลัก รองลงมาคือ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป หมวดสินค้าทุนและหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งปรับลดลง
ดัชนีราคาส่งออก เดือนสิงหาคม 2560 เท่ากับ 97.7 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 (ปี 2555=100) สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (YoY) เป็นการปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์สูงขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นจากน้ำมันสำเร็จรูปตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นจาก ยางพารา ข้าว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไก่และกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น น้ำตาลทราย และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบประเภทอาหารทะเลและความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีราคานำเข้า เดือนสิงหาคม 2560 เท่ากับ 88.0 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 (ปี 2555=100) ปรับสูงขึ้นร้อยละ 3.7 (YoY) สินค้าสำคัญที่เป็นแรงหนุนให้ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้นคือหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นหลัก ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากการปรับตัวลดลงของปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง รวมทั้งจำนวนแท่นขุดเจาะและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งปรับลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าส่งออกในรูปของดัชนี โดยใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาส่งออกที่ผู้ส่งออกในประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ทั้งนี้ ราคาส่งออกที่สำรวจเป็นราคา F.O.B (Free On Broad) ครอบคลุม 4 หมวดสินค้า ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร หมวดสินค้าอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง มีจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 764 รายการ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนสิงหาคม 2560 เท่ากับ 97.7 (ปีฐาน 2555 = 100) (เดือนกรกฎาคม 2560 เท่ากับ 97.0)โดยดัชนีราคาส่งออกเดือนสิงหาคม 2560 ในหมวดสินค้าเกษตรกรรม เท่ากับ 93.6 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เท่ากับ 107.6 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 100.5 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เท่ากับ 64.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนสิงหาคม 2560 เมื่อเทียบกับ
2.1 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกจำแนกตามรายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง สูงขึ้นตามวัตถุดิบเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน สำหรับทองคำ สูงขึ้นตามการอ่อนค่าของ
เงินเหรียญสหรัฐฯ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สูงขึ้นตามปริมาณการผลิตเหล็กที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลจีนมีมาตรการลดกำลังการผลิตส่วนเกินและเพิ่มการป้องกันสิ่งแวดล้อม ขณะที่ความต้องการเหล็กยังคงปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สูงขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา ตามราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น และความร่วมมือของผู้ผลิตยางพาราที่ต้องการรักษาเสถียรภาพด้านราคา สำหรับข้าว
สูงขึ้นจากราคาข้าวหอมมะลิที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ข้าวขาวยังประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา นอกจากนี้ ไก่และกุ้งสด
แช่เย็นแช่แข็ง ตลาดต่างประเทศให้การยอมรับเรื่องคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ประกอบกับประเทศคู่แข่งประสบปัญหาโรคระบาด
ทำให้ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น และผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็งและแห้ง เนื่องจากผลไม้บางชนิดเริ่มหมดฤดูกาลทำให้ผลผลิตน้อยลง ขณะที่ความต้องการตลาดยังคงมีอยู่ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงกลั่นบางแห่งหยุดการดำเนินการผลิตทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงและหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดในต่างประเทศ นอกจากนี้ น้ำตาลทราย สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและการบริโภคน้ำตาลโลกเพิ่มขึ้น
2.2 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 3.6 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกจำแนก
รายหมวดสินค้า ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา ข้าว สินค้าปศุสัตว์ (ไก่) สินค้าประมง (กุ้ง ปลาหมึก ปลา) ผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็งและแห้ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป
2.3 เทียบเฉลี่ยกับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2559 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 3.2 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนก
รายหมวดสินค้า ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง กุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่
เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป โดยสาเหตุหลักที่สินค้าส่งออกปรับสูงขึ้น เป็นผลจากความต้องการสินค้าจากต่างประเทศมีอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น
ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้านำเข้าที่ผู้นำเข้าในประเทศไทยได้จ่ายไปเพื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ราคานำเข้าที่สำรวจเป็นราคา C.I.F. (Cost, Insurance และ Freight) ครอบคลุม 5 หมวดสินค้า ได้แก่ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง หมวดสินค้าทุน หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง - มีจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 775 รายการ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนสิงหาคม 2560 เท่ากับ 88.0 (ปีฐาน 2555 = 100) (เดือนกรกฎาคม 2560 เท่ากับ 87.2) โดยดัชนีราคานำเข้าเดือนสิงหาคม 2560 ในหมวดสินค้าเชื้อเพลิง เท่ากับ 56.5 หมวดสินค้าทุน เท่ากับ 101.1 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เท่ากับ 93.8 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค เท่ากับ 101.4 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เท่ากับ 94.1
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนสิงหาคม 2560 เมื่อเทียบกับ
2.1 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกรายหมวดสินค้า ดังนี้
ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากการปรับตัวลดลงของปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลาง รวมทั้งจำนวนแท่นขุดเจาะและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรกล/เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากความต้องการนำเข้าเพื่อขยายการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและ กึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ทองคำ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช สินแร่โลหะ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
2.2 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 3.7 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกรายหมวดสินค้า ดังนี้
หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียมตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภาวะอุปทานล้นตลาด หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรกล/เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งปรับลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
2.3 เทียบเฉลี่ยกับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2559 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 5.4 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนก
รายหมวดสินค้า ดังนี้
ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป
ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ถ่านหิน และเชื้อเพลิงอื่นๆ หมวดสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะ ทองคำ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป
ด้ายและเส้นใย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ รถยนต์นั่ง
ทั้งนี้ ภาพรวมของราคาสินค้านำเข้าที่สำคัญ ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาจากปัจจัยการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยสินค้าที่เคยได้รับแรงกดดันจากปัญหาภาวะอุปทานส่วนเกินคลี่คลายลง อาทิ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ตามมาตรการ
ปรับลดกำลังการผลิตของประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปค เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่มีนโยบายการลดกำลังการผลิตส่วนเกินควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ดี นอกจากนี้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันได้มีการปรับราคาสูงขึ้นด้วย ได้แก่ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของดัชนีราคานำเข้าเป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากราคาสินค้านำเข้าหลักคือ สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบยังมีความผันผวนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825