ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2560 เท่ากับ 101.37 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1.1 เดือนพฤศจิกายน 2560 (MoM) ลดลง -0.08 1.2 เดือนธันวาคม 2559 (YoY) สูงขึ้น 0.78 1.3 เฉลี่ย ปี 2560/ ปี 2559 (AoA) สูงขึ้น 0.66
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม 2560 ปรับสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2559 ร้อยละ 0.78 (YoY) ผลจากการปรับขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับตามราคาน้ำมันดิบ จากการขยายระยะเวลาลดการผลิตของกลุ่ม OPEC ทำให้ราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 4.06 (YoY) ขณะที่กลุ่มอาหารสด ลดลงร้อยละ -0.91 (YoY)ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2560 ขยายตัวสูงขึ้น ร้อยละ 0.66
1.1 ระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2560 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2560 ร้อยละ -0.08 (MoM) มี ดังนี้
กลุ่มอาหารสด ลดลงร้อยละ -0.63 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตของผักสดและผลไม้เข้าสู่ตลาดมากขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการบริโภคคงที่ทำให้ราคาลดลง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักกาดหอม กะหล่ำดอก ผักคะน้า ส้มเขียวหวาน สับปะรด รวมทั้งการลดลงของเนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และข้าวสารเจ้า ส่งผลให้หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.23
กลุ่มพลังงาน ลดลงร้อยละ -0.02 จากการปรับลดราคาก๊าซหุ้มต้มภาคครัวเรือน ร้อยละ -1.30 ตามราคาก๊าซตลาดโลก ขณะที่ราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีก สูงขึ้นร้อยละ 0.02 ขณะที่ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.01
สินค้าอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.33 จากการปรับภาษีค่าความหวานของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ ชาและกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
1.2 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.78 (YoY) จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่สูงขึ้นตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ค่ากระแสไฟฟ้า เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป บุหรี่และสุรา เป็นสำคัญ
1.3 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2560 เทียบกับ เฉลี่ยปี 2559 สูงขึ้นร้อยละ 0.66
1.4 กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยระหว่างร้อยละ 0.6 - 1.6 ต่อปี
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2560
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้สอยครอบคลุม
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าปีฐาน 2558 ทั้งหมด 422 รายการ โดยมีรายละเอียดของดังนี้
1. เทียบเดือนพฤศจิกายน 2560 (MoM) ลดลง ร้อยละ -0.08 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
สาเหตุจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.23 ตามการลดลงของหมวดผักและผลไม้ ร้อยละ -1.21 ได้แก่ ผักสดลดลงร้อยละ -1.85 (ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักกาดหอม กะหล่ำดอก ผักคะน้า) ผลไม้ลดลงร้อยละ -1.33 (กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน สับปะรด มะพร้าวอ่อน มะละกอสุก ) รวมทั้งการลดลงของ ไก่สด เนื้อสุกร ไข่ไก่ และข้าวสารเจ้า ขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ ชาและกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม จากการปรับภาษีค่าความหวานของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.01 จากหมวดสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ลดลงร้อยละ -0.13 (ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาซักแห้ง น้ำยาถูพื้น) ค่าของใช้ส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ -0.20 (น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ผ้าอนามัย โฟมล้างหน้า) ค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษที่ยกเว้นเก็บตั้งแต่ วันที่ 28 ธ.ค.60 - 4 ม.ค.61 และก๊าซหุงต้มที่ปรับลดลงตามตลาดโลก รวมทั้งเสื้อผ้าบุรุษ-สตรี ที่ปรับลดช่วงปลายปี ขณะที่สินค้าและบริการที่ปรับสูงขึ้น ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (น้ำมันดีเซล) และค่าทัศนาจรต่างประเทศ
2. เทียบเดือนธันวาคม 2559 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 0.78 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
สาเหตุจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.20 ได้แก่ ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 3.01 (ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักกวางตุ้ง) รวมทั้ง น้ำผลไม้ น้ำหวาน กาแฟผงสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และอาหารสำเร็จรูป ส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.10 จากหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 1.12 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.15 (ค่ายา ค่าทำฟัน ค่าเอกซเรย์ ค่าเจาะเลือด) หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 1.32 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.56 (ค่าทัศนาจรต่างประเทศ ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.77 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) ส่วนหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.20 (เสื้อผ้าบุรุษ สตรีและเด็ก)
3. เฉลี่ยปี 2560 เทียบกับ เฉลี่ยปี 2559 (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.66 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกตามหมวด ดังนี้
สาเหตุจากหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.05 ประกอบด้วย หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 2.35 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.57 (ค่าทัศนาจรในประเทศ/ต่างประเทศการศึกษา) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.98 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.28 (ค่ายา ค่าของใช้ส่วนบุคคล) และหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.16 (ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ก๊าซหุงต้ม) ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.02 (เสื้อสตรี เสื้อเด็ก รองเท้าบุรุษ/สตรี) และการลดลงของค่ากระไฟฟ้า -0.64 จากการปรับลดค่า Ft ในช่วงต้นปี 25960 ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉลี่ยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะมีการลดลงของข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผักสด และผลไม้สด ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารสำเร็จรูป ปรับสูงขึ้น
4. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ปรับการประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 ร้อยละ 0.6 -1.6 ต่อปี โดยมีสมมติฐานหลักคือ
สมมติฐาน ช่วงประมาณการ
1.การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย (%) 3.75 (3.5 - 4.0) เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2560 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก
1) การส่งออกขยายตัวสูงขึ้น โดยมีปริมาณการส่งออกและราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก
2) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัว จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนและกึ่งคงทน
3) การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากการลงทุนในกลุ่มสินค้าเครื่องมือเครื่องจักร
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบ (USD / Barrel) 55.0 (50.0 - 60.0) ราคาน้ำมันดิบดูไบ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักเป็นผลจาก
1) ผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิต เพื่อให้ตลาดน้ำมันกลับเข้าสู่จุดสมดุล
2) ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง และ
3) ความต้องการใช้ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
3. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท / USD) 34.0 (33.0 - 35.0) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าเล็กน้อย
1.) เศรษฐกิจของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น น่าจะส่งผลให้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าเล็กน้อย
2.) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
5. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยง
อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการการผลิตและรายได้เกษตรกร และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก และจำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2561 ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825