ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 1, 2018 13:56 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2561 เท่ากับ 101.44 เมื่อเทียบกับ
          ระยะเวลา                การเปลี่ยนแปลง   ร้อยละ
          1.1 เดือนธันวาคม 2560 (MoM)       สูงขึ้น        0.07
          1.2 เดือนมกราคม 2560 (YoY)       สูงขึ้น        0.68

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมกราคม 2561เทียบกับมกราคม 2560 (YoY) ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.68 เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนธันวาคม 2560 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.78 ผลจากการปรับขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหารสดลดลงต่อเนื่อง และกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเศรษฐกิจในปัจจุบัน สำหรับระดับราคาสินค้าในเดือนมกราคม 2561 เทียบกับเดือนธันวาคม 2560 (MoM) สูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07

1. ระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนมกราคม 2561 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2560 ร้อยละ 0.07 (MoM) (ธันวาคม 2560 ลดลงร้อยละ -0.08) มีรายละเอียด ดังนี้

หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.18 จากกลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 0.86 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 1.32 รวมทั้งการปรับขึ้นของเสื้อผ้าบุรุษ/สตรี/เด็ก ค่ายา ค่าของใช้ส่วนบุคคล สุรา และเบียร์ ขณะที่ราคาก๊าซหุ้มต้มภาคครัวเรือน ลดลงร้อยละ -0.56 ตามกลไกราคาจากการลอยตัวตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.10 จากการลดลงของกลุ่มอาหารสด ร้อยละ -0.30 ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ไก่ ถึงแม้จะมีปริมาณบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว (ปีใหม่) แต่ด้วยปริมาณผลผลิตมีมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ราคาลดลงรวมทั้งผักแปรรูป (หัวหอมแดง กระเทียม) ขณะที่สินค้าปรับราคาสูงขึ้น เช่น น้ำผลไม้ น้ำหวาน กาแฟ/ชาสำเร็จรูป ปรับขึ้นตามภาษีค่าความหวานในเครื่องดื่ม และข้าวสารเจ้าที่ปรับราคาสูงขึ้น

2. เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2560 อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.68 (YoY) จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่สูงขึ้นตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ค่ากระแสไฟฟ้า เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่และสุรา เป็นสำคัญ

3. กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 ต่อปี จากเดิม ร้อยละ 0.6 -1.6 ต่อไป

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2561

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้สอยครอบคลุม

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าปีฐาน 2558 ทั้งหมด 422 รายการ โดยมีรายละเอียดของดังนี้

1. เทียบเดือนธันวาคม 2560 (MoM) สูงขึ้น ร้อยละ 0.07 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้

สาเหตุจากหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.18 จากหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.42 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.13 (เสื้อเชิ้ต-กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยกทรง กางเกงชั้นใน กระโปรงเด็ก) ค่าของใช้ส่วนบุคคล ร้อยละ 0.10 (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า แพมเพิส) รวมทั้งสุรา และเบียร์ ขณะที่ราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน ลดลงร้อยละ -0.56 ตามกลไกราคาจากการลอยตัวตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.10 ตามการลดลงของหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ -0.50 (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาดุก ปลาทับทิม ปลาทู) หมวดไข่ ร้อยละ -2.10 (ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม) และผักแปรรูป ลดลงร้อยละ -6.14 (หัวหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง) รวมทั้งเครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -0.11 (น้ำมันพืช น้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป มะขามเปียก) ขณะที่ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 1.08 (ผักคะน้า แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ พริกสด) ผลไม้สด ร้อยละ 0.05 (มะละกอสุก ชมพู่ มะม่วง กล้วยน้ำว้า) รวมทั้งอาหารบริโภค-ในบ้าน(ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแพ็คพร้อมปรุง) และอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารเย็นตามสั่ง)

2. เทียบเดือนมกราคม 2560 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 0.68 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้

สาเหตุจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.09 ได้แก่ ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 7.80 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.98 อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 1.03 ประกอบด้วยอาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน ร้อยละ 1.22 และ 0.84 ตามลำดับ ขณะที่หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ -0.67 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ -1.59 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ -2.72 เครื่องประกอบอาหารลดลงร้อยละ -0.79 และผลไม้สด ลดลงร้อยละ -2.16 ส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.04 จากหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 1.30 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.25 (ค่ายา ค่าทำฟัน ) หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.92 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.58 (ค่าทัศนาจรต่างประเทศ ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.93 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) ส่วนหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.11 (เสื้อผ้าสตรีและเด็ก)

3. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 ร้อยละ 0.7 -1.7 ต่อปี โดยมีสถานการณ์และปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อเงินเฟ้อ ดังนี้

ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยง

อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัว ตามผลผลิตและรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปี 2561 อาจส่งผลดีต่อกำลังซื้อในประเทศ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก การแข็งค่าของเงินบาท

การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแม้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมีความผันผวน

การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2561 การลงทุนภาครัฐอาจมีขั้นตอนที่อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ