ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนมกราคม (January 2018)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 25, 2018 14:26 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนมกราคม 2561 เท่ากับ49.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 51.6 ดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มลดลง จากการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูงขึ้น ทำให้ต้องจัดการบริหารสินค้าคงคลังให้น้อยลง และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 310 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนมกราคม 2561 มีค่าเท่ากับ 50.8 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกยังมีทิศทางอยู่ในเกณฑ์ดี สาเหตุหลักมาจากการส่งออกเติบโตดีในหลายกลุ่มสินค้าและตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนมกราคม 2561 มีค่าเท่ากับ 52.2 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังคงเติบโตได้ดี และเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวดี

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนมกราคม 2561 มีค่าเท่ากับ 49.3 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับลดลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงานไทยและต่างด้าว รวมทั้งมีอัตราการย้ายงานบ่อยขึ้น

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และยางพารา

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็งและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนมกราคม 2561 มีค่าเท่ากับ 45.7 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น ทำให้ต้องบริหารสินค้าคงคลังให้น้อยลง ส่งผลให้มีมูลค่าสินค้าคงคลัง ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา
  • เงินบาทแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่งผลกระทบต่อรายได้ในรูปเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก
  • ภาวะการขาดแคลนแรงงานไทยและต่างด้าว ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง
  • ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากประเทศคู่ค้า ในขณะที่คู่แข่งยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี เช่น สัปปะรดกระป๋อง
  • ค่าระวางเรือสูงขึ้น และมีการรวมตัวกันของสายเรือต่างๆ ทำให้ตารางเดินเรือเหมือนกัน เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการส่งผลให้เคลียร์สินค้าจากท่าเรือล่าช้า และจำนวนเรือไม่เพียงพอต่อการขนส่ง
  • สภาพคล่องทางการเงิน
  • ราคายางมีความผันผวน ภาครัฐจึงมีมาตรการควบคุมการส่งออกระยะสั้น 3 เดือน (มกราคม-31 มีนาคม 2561) เพื่อยกระดับราคายางในตลาดให้สูงขึ้น โดย 3 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลค่าเงินบาท เพื่อมิให้มีการผันผวน และแข็งค่ามากขึ้น เพื่อช่วยให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจน้อยลง
  • ดูแลต้นทุนด้านแรงงานให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
  • ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมการลงทุนด้านการประมงในประเทศ

ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ