รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 2, 2018 10:23 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification of Products by Activity) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากการสารวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตจาหน่ายทั่วประเทศ มีจานวนรายการสินค้าทั้งหมด 596 รายการ

1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2561 (ปี 2553 = 100) มีค่าเท่ากับ 101.7 (เดือนมกราคม 2561 เท่ากับ 101.9)

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เมื่อเทียบกับ

2.1 เดือนมกราคม 2561 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.2 โดยเมื่อพิจารณาดัชนีราคาเทียบกับเดือนมกราคม 2561 ลดลงร้อยละ 0.2 สาเหตุจากดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4สินค้าสาคัญที่ราคาลดลง กลุ่มน้ามันเชื้อเพลิง (น้ามันเบนซิน น้ามันดีเซล น้ำมันเตา น้ามันก๊าด) จากปริมาณการผลิตน้ามันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากแท่นขุดเจาะที่มีจานวนเพิ่มขึ้นและสต๊อกน้ามันดิบของสหรัฐอยู่ในระดับสูง กลุ่มยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควันและยางแท่งราคาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการรับซื้อและตลาดล่วงหน้าต่างประเทศปิดทาการในช่วงหยุดยาวเทศกาลตรุษจีนกลุ่มเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แผงวงจร) และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคา ตามภาวะตลาดโลก ขณะที่กลุ่มอาหารปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด น้าสับปะรด น้ามันปาล์มดิบ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว และมันเส้น ขณะที่ดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สินค้าสาคัญที่ราคาสูงขึ้น กลุ่มผลผลิตการเกษตร ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่องขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเพราะอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลปาล์มสด ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาล หัวมันสาปะหลังสด ผลผลิตไม่เพียงพอเพราะผู้ประกอบการมีความต้องการมากขึ้น เนื่องจากราคาส่งออกสูงไก่มีชีวิต และไข่ไก่ จากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล ตรุษจีนสาหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มพืชผัก (แตงกวา มะเขือ พริกสด กะหล่าปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว ผักขึ้นฉ่าย กะหล่าดอก แตงร้าน) กลุ่มผลไม้ (กล้วยหอม กล้วยน้าว้า ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง ชมพู่) เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออานวยต่อการเพาะปลูก และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 สินค้าสาคัญ ที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG) และแร่โลหะ (ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก) ปรับสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลก

2.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (YoY) ลดลงร้อยละ 1.9 โดยเมื่อพิจารณาดัชนีราคาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ลดลงร้อยละ 1.9 สาเหตุจากดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 7.4 จากกลุ่มสินค้าผลผลิตการเกษตร (ร้อยละ -8.2) สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ -8.4) ปลาและสัตว์น้า (ร้อยละ -1.3) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.3 จากสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ (ร้อยละ -1.8) สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (ร้อยละ -0.2) ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ -0.6) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ร้อยละ -11.9) เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ -2.8) ยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ -0.1) และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (ร้อยละ -0.7) ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองสูงขึ้นร้อยละ 3.1 จากสินค้ากลุ่มลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 3.7) แร่โลหะและแร่อื่นๆ (ร้อยละ 0.1)

2.3 เทียบเฉลี่ยเดือน ม.ค. – ก.พ. ปี 2561 กับระยะเดียวกันปี 2560 ลดลงร้อยละ 1.5 โดยเมื่อพิจารณาดัชนีราคาเทียบเฉลี่ยกับระยะเดียวกันของปี 2560 ลดลงร้อยละ 1.5 โดยสินค้าสาคัญที่ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 6.9 จากกลุ่มสินค้าผลผลิตการเกษตร (ร้อยละ -7.7) สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ -8.6) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ (ร้อยละ -2.0) ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ -0.8) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ร้อยละ -10.9) เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ -2.6) ยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ -0.1) และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (ร้อยละ -0.3) ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 3.7) แร่โลหะ และแร่อื่นๆ (ร้อยละ 0.1)

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศแบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนีเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ ผู้ผลิตได้รับ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดสินค้าสาเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสาเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ จากการสารวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ผลิตจาหน่ายทั่วประเทศ มีจานวนรายการสินค้าทั้งหมด 596 รายการ สรุปผลได้ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศชุดแบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) ประกอบด้วย ดัชนีราคาหมวดสินค้าสาเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสาเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ (ปี 2553 = 100) เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ดัชนีราคาเท่ากับ102.8 , 101.1 และ 95.7 ตามลาดับ

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศชุดแบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP) เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 หมวดสินค้าสาเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.3 หมวดสินค้ากึ่งสาเร็จรูป (แปรรูป) ลดลงร้อยละ 0.6 และ หมวดสินค้าวัตถุดิบสูงขึ้นร้อยละ 1.4

3. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศชุดแบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) เดือนกุมภาพันธ์2561 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 หมวดสินค้าสาเร็จรูป ลดลงร้อยละ 1.3 หมวดสินค้ากึ่งสาเร็จรูป (แปรรูป) ลดลงร้อยละ 1.9 และหมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 5.9 4. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศชุดแบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) เฉลี่ยเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 หมวดสินค้าสาเร็จรูป ลดลงร้อยละ 1.2 หมวดสินค้ากึ่งสาเร็จรูป (แปรรูป) ลดลงร้อยละ 0.9 และหมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 5.4

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5808 โทรสาร. 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ