ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมีนาคม 2561
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2561 เท่ากับ 101.12 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1. เดือนกุมภาพันธ์ 2561 (MoM) ลดลง -0.09 2. เดือนมีนาคม 2560 (YoY) สูงขึ้น 0.79 3. เฉลี่ย 3 เดือน 2561 (AoA) สูงขึ้น 0.64
(ม.ค. - มี.ค. 2561) /(ม.ค. - มี.ค. 2560)
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2561 เทียบกับเดือนมีนาคม 2560 เพิ่มขึ้น +0.79% (YoY) ต่อเนื่องจาก +0.42% (YoY) ในเดือนก่อนหน้า เป็นการสูงขึ้นของกลุ่มพลังงาน ร้อยละ 3.79 ที่สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ขณะที่กลุ่มอาหารสดลดลงในอัตราที่ชะลอตัวเหลือร้อยละ -0.66 จากผลผลิตผักบางชนิดรุ่นใหม่ทยอยออกสู่ตลาดรวมทั้งฤดูกาลของผลไม้ เมื่อเทียบดัชนีเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ลดลง ร้อยละ -0.09 (MoM) รวม 3 เดือนแรกของปี 2561 เงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวต่อเนื่องเป็นร้อยละ 0.64 (เงินเฟ้อพื้นฐานเมื่อหักอาหารสดและพลังงานแล้วขยายตัวร้อยละ 0.61)
1. ระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2561 ลดลงจาก เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ร้อยละ -0.09 (MoM) (กุมภาพันธ์ 2561 ลดลงร้อยละ -0.23) มีรายละเอียด ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.28 จากการลดลงของกลุ่มอาหารสด ร้อยละ -0.63 ได้แก่ ไก่สด เนื้อสุกร ไข่ ผลผลิตมีปริมาณสะสมมากขึ้นประกอบกับเริ่มปิดเทอมทำให้ความต้องการลดลง รวมทั้งการลดลงของผักและผลไม้ ร้อยละ -2.32 (แตงกวา ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว มะระจีน สับปะรด มะม่วง ชมพู่) และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ -0.02 (เครื่องดื่มรสชอกโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม) รวมทั้งอาหารโทรสั่ง (delivery) ขณะที่มีสินค้าบางรายการที่สูงขึ้น ได้แก่เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 0.14 (น้ำมันพืช กะทิสำเร็จรูป ซีอิ้ว) และข้าวสารเจ้า สูงขึ้นร้อยละ 1.57 รวมทั้งปลาและสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.24 (ปลานิล ปลากะพง กุ้งนาง หอยลาย ปูม้า)
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.03 จากหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.21 (เสื้อผ้าบุรุษ สตรี เด็ก) หมวดเคหสถาน ร้อยละ 0.10 (ค่าเช่าบ้าน ปูนซีเมนต์ ค่าแรงช่างไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม) หมวดค่ายา สูงขึ้นร้อยละ 0.24 (ยาแก้ไอ ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ไข้หวัด) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (เบียร์ สุรา) รวมทั้งค่ารถรับส่งนักเรียน และก๊าซยานพาหนะ LPG ขณะที่มีสินค้าและบริการบางรายการที่ลดลง ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -0.24 (เบนซิน 95 ดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 E85 ก๊าซ NGV) ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.08 และการลดลงของอาหารสัตว์เลี้ยง และแทปเล็ต
2. เทียบเดือนมีนาคม 2560 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 0.79 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
สาเหตุจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.19 ได้แก่ ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 7.63 (ผักชี มะนาว พริกสด ขึ้นฉ่าย ผักกวางตุ้ง) อาหารบริโภค- ในบ้าน ร้อยละ 1.20 (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว) และอาหารบริโภค-นอกบ้าน ร้อยละ 0.92 (อาหารเช้า ข้าวราดแกง อาหารเย็นตามสั่ง) หมวดข้าว ร้อยละ 0.69 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.23 (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน) ขณะที่มีสินค้าบางรายการที่มีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ปลาช่อน ปลาทับทิม ไข่ไก่ ไข่เป็ด หัวหอมแดง และกระเทียม รวมทั้งกล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน เป็นต้น
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.13 จากหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.95(บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา สูงขึ้นร้อยละ 0.49 (ค่าทัศนาจรต่างประเทศ) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.43 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) น้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 2.61 (เบนซิน 95 ดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 E85 ก๊าซ NGV) และหมวดการตรวจรักษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.42 (ค่ายา ค่าทำฟัน) ขณะที่มีสินค้าและบริการบางรายการที่มีราคาลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต อาหารสัตว์เลี้ยง)
3. เฉลี่ย 3 เดือน (ม.ค.- มี.ค. 2561) เทียบกับ (ม.ค.-มี.ค.2560) (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.64 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
สาเหตุจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.04 ได้แก่ ผักสด ร้อยละ 5.94 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.16 อาหารบริโภค-ในบ้าน และอาหารบริโภค-นอกบ้าน ร้อยละ 1.23 และ 0.90 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลงได้แก่ ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ -0.24 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ -1.66 ผลไม้สด ร้อยละ -1.70 และเครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -1.47
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.97 จากหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 1.36 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.40 (ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล) หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.55 (ค่าทัศนาจรต่างประเทศ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.95 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) ส่วนหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.04 (เสื้อผ้าบุรุษและเด็ก รวมทั้งผลิตภัณฑ์รองเท้า)
สถานการณ์และปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อเงินเฟ้อ
อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัว ตามผลผลิตและรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปี 2561 อาจส่งผลดีต่อกำลังซื้อในประเทศ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2561
การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก การแข็งค่าของเงินบาท
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแม้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมีความผันผวน
การลงทุนภาครัฐอาจมีขั้นตอนที่อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825