รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกไตรมาสที่ 2/2561

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 26, 2018 11:06 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกไตรมาสที่ 2/2561

Highlights

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 2/2561 (เมษายน-มิถุนายน) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยดัชนี มีค่า 69.8 และ 68.4 ตามลำดับจากความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 304 ราย มีรายละเอียด ดังนี้

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2/2561 (เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้นร้อยละ 50.3 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 38.8 และลดลงร้อยละ 10.8 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 2/2561 มีค่าเท่ากับ 69.8 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น ตามแนวโน้มการเติบโตของภาคการผลิตโลก และจากอานิสงส์ของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่ฟื้นตัว

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสัตว์เลี้ยงอาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 2/2561(เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้นร้อยละ45.8 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 45.1 และลดลงร้อยละ 9.1 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีค่าเท่ากับ 68.4 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ได้แก่ ข้าว โดยได้รับแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และราคาข้าวที่ต่ำกว่าของประเทศคู่แข่ง

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนมีนาคม 2561 เท่ากับ55.5 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 49.4 ดัชนีสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 304 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนมีนาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 60.4 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และจีน

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนมีนาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 58.2 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและอาเซียนที่ยังคงเติบโตได้ดี

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนมีนาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 52.6 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็งเชื้อเพลิงและพลังงานอาหารสำเร็จรูป

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนมีนาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 50.7 ซึ่งมีค่าสูงกว่า 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มดี เป็นผลจากการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อรอการส่งมอบ โดยสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางน้ำตาลทรายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก

ปัญหา
  • ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาก ส่งผลให้กำไรจากผลประกอบการลดลง และยังส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกด้วย
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
  • การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยตรง รวมถึงมีการขาดแคลนแรงงานทั้งไทยและต่างด้าว
  • ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมาก เช่น มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์พลาสติก
  • ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ เช่น มันสำปะหลัง ปลา กุ้ง และขาดแคลนวัตถุดิบต่างประเทศ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • กฎระเบียบและมาตรการกีดกันทางการค้า ความล่าช้าในการยื่นเอกสารและกฎเกณฑ์การส่งออกตามกฎหมายของสหภาพยุโรปที่เข้มงวดในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป
  • มาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเหล็กและอลูมิเนียม ทำให้ผู้ส่งออกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนและการแข่งขัน
  • สภาพคล่องทางการเงิน
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ดูแลต้นทุนและบริหารจัดการด้านแรงงานให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
  • ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ