Highlights
ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนเมษายน 2561 เท่ากับ42.6 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 55.5 และมีค่า ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มลดลง และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 319 ราย มีรายละเอียด ผลการสำรวจดังนี้
ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนเมษายน 2561 มีค่าเท่ากับ 33.2 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง สาเหตุหลักมาจากวันหยุดยาวเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ยอดส่งออกของไทยปรับตัวลดลง
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์)
ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก สูงขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป รองเท้าและชิ้นส่วน
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนเมษายน 2561 มีค่าเท่ากับ 41.3 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจากความไม่แน่นอน ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันทางการค้าที่มากขึ้น ทำให้ลูกค้าบางส่วนหันไปซื้อสินค้าที่ราคาถูกกว่าแทน โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีน
สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์)
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ สูงขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป
ดัชนีการจ้างงาน เดือนเมษายน 2561 มีค่าเท่ากับ 49.5 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากการขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานฝีมือและไร้ฝีมือ
สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน สูงขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ข้าว ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป
ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนเมษายน 2561 มีค่าเท่ากับ 46.4 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นและความผันผวนของค่าเงิน ทำให้มีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง โดยสินค้าคงคลังที่ ลดลง ได้แก่ ข้าวผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ผักผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ สูงขึ้นได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ น้ำตาลทราย
ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก
- ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้กำไรจากผลประกอบการลดลง และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
- ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งสินค้าไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก เรือขนส่งสินค้าดีเลย์ การจราจร
ที่ท่าเรือมีความแออัด สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าต่างประเทศได้ทันตามกำหนดเวลา รวมทั้งค่าขนส่งทางเรือปรับสูงขึ้น
- ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
- ขาดแคลนแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าว รวมทั้งแรงงานฝีมือ และการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ เช่น มันสำปะหลัง เนื่องจากราคาในปีก่อนตกต่ำ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นแทนส่งผลให้ผลผลิต ในปีนี้มีปริมาณน้อย
- กฎระเบียบและมาตรการกีดกันทางการค้า รวมทั้งความล่าช้าในการยื่นเอกสารและกฎเกณฑ์การส่งออกตามกฎหมายของสหภาพยุโรป ที่เข้มงวดในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปและไก่สดแช่แข็ง
- สภาพคล่องทางการเงิน
ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้
- ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
- ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น
- ดูแลต้นทุนและบริหารจัดการด้านแรงงานให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
- ดูแลสินค้าเกษตรของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
- ปรับปรุงและพัฒนาระบบออนไลน์ของการยื่นเอกสารแบบฟอร์มเกี่ยวกับการส่งออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์