ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2561 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,570 คน ใน 77 จังหวัด ทั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศ เดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ระดับ 39.4 ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.0 สาเหตุมาจาก ประชาชนมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจปรับตัวลดลง รวมทั้ง คาดว่า 3 เดือนข้างหน้า รายได้ และการหางานทำ จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 42.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ 43.8 เป็นผลมาจาก ความคาดหวังในอีก 3 เดือนข้างหน้า ต่อภาวะเศรษฐกิจ รายได้ และการหางานทำ ที่ปรับตัวลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.3 49.9 และ 32.1 มาอยู่ที่ 49.2 48.8 และ 30.6 ตามลำดับ ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 34.3 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ยังต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่า ประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ รายได้ และการหางานทำ
สำหรับ ความคิดเห็นของประชาชนด้านการใช้จ่าย ได้แก่ การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงจาก 22.2 มาอยู่ที่ระดับ 21.8 ขณะที่ การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14.4 มาอยู่ที่ 14.9 ประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายในสินค้าคงทนต่างๆ ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า สำหรับการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพในเดือนนี้เทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ 53.7 และ 51.1 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 52.5 และ 49.8 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นต่อการครองชีพ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในภาคเหนือปรับตัวลดลงจาก 40.2 มาอยู่ที่ 39.6 ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 34.7 และ 44.0 มาอยู่ที่ 35.5 และ 44.2 ตามลำดับ สำหรับภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลง จากเดือนก่อนหน้า และคาดว่าจะปรับตัวลงอีกเล็กน้อย จากความเห็นประชาชนที่ว่า เศรษฐกิจซบเซา มีการใช้จ่ายน้อย ปริมาณสินค้าที่ซื้อลดลง เนื่องจากสินค้าและบริการยังคงมีราคาแพง รายได้ที่ไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องประหยัดเงิน และไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็น รวมทั้ง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เช่น ยางพารา ขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่วนภาคใต้ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 29.9 มาอยู่ที่ 29.3 แต่คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ภาคใต้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จาก ประชาชนที่ประกอบอาชีพค้าขายยังมีความหวังว่าช่วงเปิดเทอมอาจทำให้มีการบริโภคสินค้าและบริการได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่สามารถนำไปรูดซื้อสินค้าตามร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องใช้ในครัวเรือน และมีความพอใจกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ เพราะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ของทุกภาคยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ จากการค้าขายที่ซบเซา ไม่คึกคัก การจับจ่ายลดลง สินค้าเกษตรบางชนิดที่ราคาตกต่ำ ค่าครองชีพซึ่งยังคงสูง โดยรวมสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันระยะยาว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)
รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 39.5 39.7 40.0 40.6 41.0 40.3 40.0 39.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 33.0 33.0 33.1 33.9 34.9 34.0 34.3 34.3 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 43.9 44.2 44.5 45.0 45.1 44.5 43.8 42.9 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 49.7 49.4 50.3 51.0 50.7 50.4 49.9 48.8 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 27.6 26.0 26.4 26.4 27.2 26.3 26.7 26.8 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 33.2 31.7 31.9 31.9 32.8 32.6 32.2 30.6 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 53.7 53.3 53.6 53.6 54.8 53.2 52.5 53.7 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 14.0 13.6 13.7 13.7 15.0 14.9 14.4 14.9 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 19.4 20.1 19.8 19.8 22.0 21.0 22.2 21.8 ต่างๆ(ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายภูมิภาค
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาคเหนือ จากความคิดเห็นด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจเทียบกับปีที่ผ่านมา และอีก 3 เดือนข้างหน้า รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า และโอกาสในการหางานทำที่ปรับตัวลดลงจาก 44.0 52.4 51.7 และ 24.8 มาอยู่ที่ 41.8 50.1 51.5 และ 23.8 ตามลำดับ ภาคตะวันออก จากความคิดเห็นด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจ เทียบกับปีที่ผ่านมา และอีก 3 เดือนข้างหน้า รวมทั้ง รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ที่ปรับตัวลดลงจาก 50.9 51.8 และ 50.4 มาอยู่ที่ 50.5 48.4 และ 48.2 ตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากความคาดหมายในอีก 3 เดือนข้างหน้า ด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจ รายได้ และโอกาสในการหางานทำ ที่ปรับตัวลดลงจาก 56.5 53.0 และ 38.3 มาอยู่ที่ 53.7 49.9 และ 33.8 ตามลำดับ และภาคใต้จากความคาดหมายในอีก 3 เดือนข้างหน้า ด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจ รายได้ และโอกาสในการหางานทำ ที่ปรับตัวลดลงจาก 36.1 41.6 และ 25.7 มาอยู่ที่ 35.9 39.3 24.6 ตามลำดับ ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความคาดหมายในอีก 3 เดือนข้างหน้า ด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจและรายได้ รวมทั้ง โอกาสในการหางานทำในปัจจุบันที่ระดับ 44.5 48.0 และ 19.5 มาอยู่ที่ 48.0 50.2 และ 21.4 ตามลำดับ รวมทั้ง ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความคิดเห็นด้านสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และอีก 3 เดือนข้างหน้า ที่อยู่ระดับ 47.3 และ 54.5 มาอยู่ที่ 51.2 และ 57.5 ตามลำดับ
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. ปรับราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน
2. ปัญหาการปรับลดลงราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวเปลือก พร้อมให้การสนับสนุนสินค้าทางการเกษตร
3. แก้ไขราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
4. แก้ปัญหาราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
5. ไม่เพิ่มค่าครองชีพมากเกินไป ปรับตัวลดลงให้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน
6. ต้องให้เศรษฐกิจดี เม็ดเงินกระจายทั่วประเทศ เปลี่ยนเศรษฐกิจที่แย่ให้กลับมามั่นคงและมั่งคั่ง รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ดีขึ้น
7. เน้นสินค้าการส่งออกภายใน-นอก ให้มากขึ้น ให้การค้าขายในไทย-นอกกลับมาคึกคักมากขึ้น
8. กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการบริโภค และการใช้จ่าย ให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจดีขึ้น
9. สร้างการลงทุนสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
10. กระตุ้นการบริโภค ส่งเสริมการส่งออก ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม
11. กระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอย การใช้เงินจากประชาชน (จัดเทศกาลต่างๆ)
12. เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น
13. กระตุ้นให้เกิดการลงทุน
1. ปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างจริงจัง
2. ปราบยาเสพติดให้หมด
3. เปิดตำแหน่งงาน เพื่อเปิดโอกาสในการพิสูจน์ความสามารถ
4. แก้ปัญหาการว่างงาน
5. สร้างงานให้เกษตรกรผู้ว่างงานหน้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดแรงงาน
6. แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน
7. แก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน
8. จัดการเลือกตั้ง
9. ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ แก่นักศึกษาไปต่อยอดสร้างธุรกิจ สร้างงานด้วยตัวเอง เพื่อเกิดรายได้ให้ยั่งยืนกับผู้จบการศึกษาใหม่
10. บังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสม
11. การกระจายความเจริญสู่ชนบท
12. รักษาเสถียรภาพทางการเมือง
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th