ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนพฤษภาคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 25, 2018 14:58 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนพฤษภาคม 2561 เท่ากับ55.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 42.6 และมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 303 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนพฤษภาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 62.0 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และจีน

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนพฤษภาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 61.0 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียนที่ยังคงเติบโตได้ดี

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนพฤษภาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 53.0 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูปอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) ผลิตภัณฑ์ยาง และฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และสิ่งทอ

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนพฤษภาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 46.0 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อและราคาวัตถุดิบของสินค้าบางชนิดปรับสูงขึ้น โดยสินค้าคงคลังที่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และรองเท้าและชิ้นส่วน

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและเชื้อเพลิงและพลังงาน

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก

ปัญหา
  • ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้กำไรจากผลประกอบการลดลง และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ขาดแคลนตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) ไม่มีเรือส่งออกสินค้า สภาพอากาศที่ฝนตกทำให้เรือล่าช้า ปัญหา ความแออัดของท่าเรือกรุงเทพส่งผลกระทบไปถึงท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลา และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
  • ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศมีปริมาณน้อย และราคาขายที่ได้ต่ำกว่าต้นทุนการเลี้ยงกุ้ง ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาและอาจส่งผลกระทบให้วัตถุดิบภายในประเทศสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกไม่เพียงพอ
  • กฎระเบียบ IUU ที่ภาครัฐขอความร่วมมือบริษัทส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง มีความยุ่งยากในขั้นตอนการส่งออกที่ต้องมีเอกสารประกอบและใช้ระยะเวลาในการยื่นเรื่องเพิ่มมากขึ้น
  • ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และแรงงานที่มีทักษะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น
  • เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ และช่วยหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รวมทั้งวิธีการช่วยลดต้นทุนการผลิตและรณรงค์การบริโภคกุ้งในประเทศเพิ่มขึ้น
  • เพิ่มช่องทางในการยื่นเอกสารแบบฟอร์มFTA ให้มากขึ้น เพื่อความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • หาแนวทางในการดูแลและช่วยเหลือผู้ส่งออกกลุ่มสินค้าเหล็ก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านภาษีจากต่างประเทศ

ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ