ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครวมของประเทศ เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 37.8 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.4 เป็นการลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต สาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยด้านกำลังซื้อ และราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทลงมา ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
สำหรับ ความคิดเห็นของประชาชนด้านการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพในปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 53.7 มาอยู่ที่ 54.3 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ สูงกว่าระดับ 50 มาตั้งแต่ต้นปี 2561 สะท้อนว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพในปัจจุบัน ขณะที่ การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า และการวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 49.8 14.8 และ 20.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.1 14.9 และ 21.8 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ภูมิภาคที่ลดลง ได้แก่ ภาคกลางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลงจาก 44.2 39.6 43.8 และ 45.6 มาอยู่ที่ 37.5 38.9 40.7 และ 43.0 ตามลำดับ ขณะที่เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 35.5 มาอยู่ที่ 36.3 และ ภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 29.3 มาอยู่ที่ 29.9 และคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาคตะวันออกและภาคใต้ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อแนวโน้มความเชื่อมั่น ได้แก่ การปรับตัวเพิ่มขึ้นจากศักยภาพทางเศรษฐกิจในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านอุตสาหกรรม การค้าขาย และการท่องเที่ยว มีการขยายตัวของร้านอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ด้านฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย คาดว่าการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวในทุกพื้นที่ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน รัสเซีย และยุโรป ขณะที่ ฝั่งภาคใต้ ชายแดนมีการขยายตัวจากนักท่องเที่ยวมาเลเซีย และนักท่องเที่ยวจีนเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ การส่งออก ผลผลิตเกษตร การอุปโภค บริโภค ภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ผ่านมาของภาคใต้ก็ยังคงขยายตัวได้ดี
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศ ปัจจุบัน อนาคต และทุกภูมิภาค มีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่า ประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการบริโภค
รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 พ.ค.61 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม 39.5 39.7 40.0 40.6 41.0 40.3 40.0 39.4 37.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 พ.ค.61 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 33.0 33.0 33.1 33.9 34.9 34.0 34.3 34.3 31.7 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต 43.9 44.2 44.5 45.0 45.1 44.5 43.8 42.9 41.9 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 พ.ค.61 รายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 49.7 49.4 50.3 51.0 50.7 50.4 49.9 48.8 48.6 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 พ.ค.61 โอกาสในการหางานทำในปัจจุบัน 27.6 26.0 26.4 26.4 27.2 26.3 26.7 26.8 25.3 โอกาสในการหางานทำในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) 33.2 31.7 31.9 31.9 32.8 32.6 32.2 30.6 30.9 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ รายการ ก.ย.60 ต.ค.60 พ.ย.60 ธ.ค.60 ม.ค.61 ก.พ.61 มี.ค.61 เม.ย.61 พ.ค.61 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน 53.7 53.3 53.6 53.6 54.8 53.2 52.5 53.7 54.3 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า 14.0 13.6 13.7 13.7 15.0 14.9 14.4 14.9 14.8 การวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทน 19.4 20.1 19.8 19.8 22.0 21.0 22.2 21.8 20.4 ต่างๆ (ยกเว้นบ้านและรถยนต์) ใน 6 เดือนข้างหน้า บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ
1. แก้ไขราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น กำลังซื้อของคนในกลุ่มเกษตรจะกลับคืนมา เช่น ราคาปาล์ม ยางพารา และมะพร้าว
2. ปัญหาการว่างงาน การจ้างงานให้บัณฑิตจบใหม่ การหาตำแหน่งงานว่าง ส่งเสริมอาชีพ และดูแลการสอบบรรจุครูควรให้เด็กที่จบในจังหวัดมีคะแนนพิเศษเพื่อจะได้อยู่ดูแลบิดามารดาด้วย ควบคุมบริษัทที่จัดหาครูต่างชาติมาให้ตามโรงเรียนที่ทำให้ครูในจังหวัดตัวเองตกงาน
3. ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ กระตุ้นเศรษฐกิจ แก้สภาพคล่อง และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4. ราคาสินค้าแพงมาก ปรับราคาสินค้าลดลง โดยกำหนดนโยบายราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคลดลง เนื่องจากการรายได้ที่ได้รับและการใช้จ่าย ให้สอดคล้องกับราคาของต่างๆ ของรายรับที่ได้
5. เพิ่มค่าจ้างแรงงาน ดูแลปัญหาการจ่ายรายได้ไม่เป็นธรรม
6. เพิ่มค่าครองชีพ
7. รักษาเสถียรภาพ สร้างความมั่นใจในรัฐบาลต่อนักลงทุน
8. ปรับลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
9. การลดต้นทุนราคาสินค้า จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
10. การปรับราคาสาธารณูปโภคให้เข้ากับฐานเงินของประชาชนในประเทศ
1. ปัญหาการคอรัปชั่น โดยการคอรัปชั่นท้องถิ่นสูงมาก ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์มาก
2. ปัญหายาเสพติดในชุมชน
3. ปัญหาความยากจน
4. ดูแลสภาพปัญหาในพื้นที่ให้ดีขึ้น
5. ให้เกิดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th