ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 (กรกฎาคม-กันยายน) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยดัชนีมีค่า 66.0 และ 62.0 ตามลำดับจากความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 307 ราย มีรายละเอียด ดังนี้
ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 3/2561 (กรกฎาคม-กันยายน) จะดีขึ้นร้อยละ 43.0 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 46.0 และลดลงร้อยละ 11.0 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 3/2561 มีค่าเท่ากับ 66.0 แสดงว่า การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น ตามแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และ จากอานิสงส์ของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เติบโตได้ดีมาก
สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและพลังงาน
สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลง ได้แก่ อาหารทะเลแช่เยือกแข็งและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นผลจากราคาสูงกว่าประเทศคู่ค้า ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อจากตลาดที่ราคาถูกกว่า
ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 3/2561(กรกฎาคม-กันยายน) จะดีขึ้นร้อยละ 36.1 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 51.9 และลดลงร้อยละ 12.0 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีค่าเท่ากับ 62.0 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและพลังงาน
สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ได้แก่ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง โดยได้รับแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และต้นทุนที่สูงกว่าประเทศคู่ค้า
ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนมิถุนายน 2561 เท่ากับ 52.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 55.5 แต่ยังมีค่า สูงกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกยังคงมีมุมมองที่ดีต่อภาวะการส่งออก ของไทย และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 307 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้
ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนมิถุนายน 2561 มีค่าเท่ากับ 57.0 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และจีน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่เข็มแข็งมากขึ้น
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เคมีภัณฑ์ และเชื้อเพลิงและพลังงาน
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนมิถุนายน 2561 มีค่าเท่ากับ 56.2 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัว ของภาคการผลิตและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียนที่ยังคงเติบโตได้ดี
สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง และเชื้อเพลิงและพลังงาน
ดัชนีการจ้างงาน เดือนมิถุนายน 2561 มีค่าเท่ากับ 50.9 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูป
ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนมิถุนายน 2561 มีค่าเท่ากับ 44.2 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อและมีการส่งมอบสินค้าออกไปต่างประเทศมากขึ้น โดยสินค้า คงคลังที่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป และเชื้อเพลิง และพลังงาน
ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเล แช่เยือกแข็ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และอาหารสัตว์เลี้ยง
ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก
- การแข็งค่าและความผันผวนของค่าเงินบาท ส่งผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาทและความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าจากภาคการเกษตร
- ขาดแคลนตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) ไม่มีเรือส่งออกสินค้า ระยะเวลาลากตู้จากแหลมฉบังมาท่าเรือกรุงเทพ ใช้เวลาเพิ่มขึ้น เนื่องจากท่าเรือแออัด ทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มขึ้น
- ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
- ราคาสินค้ามันสำปะหลัง และราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกลดลง
- เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบมีต้นทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจากการขึ้นภาษีต่างๆ ของรัฐบาล
- กฎระเบียบ IUU ที่ภาครัฐขอความร่วมมือบริษัทส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง มีความยุ่งยากในขั้นตอนการส่งออกที่ต้องมีเอกสารประกอบและใช้ระยะเวลาในการยื่นเรื่องเพิ่มมากขึ้น
- ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปและน้ำตาลทราย และแรงงานที่มีทักษะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้
- ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
- ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น
- หาแนวทางในการดูแลและช่วยเหลือผู้ส่งออกกลุ่มสินค้าเหล็กและอลูมิเนียม ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านภาษีจากสหรัฐอเมริกา
- วางแผนและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปริมาณการส่งออกกุ้งไทยที่ตกต่ำอย่างเป็นระบบครบทั้งวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825
www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th