ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือน กรกฎาคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 1, 2018 10:55 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2561 เท่ากับ 102.00 เมื่อเทียบกับ

ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ

1. เดือนมิถุนายน 2561 (MoM) ลดลง -0.05

2. เดือนกรกฎาคม 2560 (YoY) สูงขึ้น 1.46

3. เฉลี่ย 7 เดือน 2561 (AoA) สูงขึ้น 1.04

(ม.ค. - ก.ค. 2561)/(ม.ค. -ก.ค. 2560)

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกรกฎาคม 2561 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 เพิ่มขึ้น 1.46 (YoY) เป็นการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน จากการสูงขึ้นของหมวดพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ร้อยละ 10.18 ในขณะที่อาหารสดหดตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -1.61 (YoY) ดัชนีราคาลดลงจากการลดลงของผักและผลไม้เป็นสำคัญ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.79 (YoY) ช่วงเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ปี 2561 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.04 (AoA) ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.70 (AoA)

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ปรับประเมินอัตราเงินเฟ้อปี 2561 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.8-1.6 จากเดิม 0.7-1.7 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง

1.การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าสำคัญ ที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -0.05 (MoM) (มิถุนายน 2561 ลดลง ร้อยละ -0.09) มีรายละเอียด ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.33 จากการ ลดลงของกลุ่มอาหารสดร้อยละ -0.97 ผักและผลไม้สดลดลงร้อยละ -1.80 โดยเฉพาะผักสดลดลงร้อยละ -5.75 (แตงกวา ผักคะน้า ผักชี ถั่วฝักยาว มะนาว ต้นหอม) เนื่องจากภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีการปรับลดลงของ เนื้อสุกร ไก่ย่าง ปลาดุก กุ้งนาง ส่งผลให้เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ -1.13 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ -0.42 (ไข่ไก่ ไข่เป็ด นมสด นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง) ในขณะที่เครื่องประกอบอาหาร ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.95 ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 0.37 ผลไม้สดสูงขึ้นร้อยละ 1.43 (ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง ทุเรียน ฝรั่ง ลองกอง) นอกจากนี้ อาหารบริโภค-นอกบ้านและในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.10 และ 0.03 ตามลำดับ

หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.10 ตามการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 0.74 จากการสูงขึ้นของน้ำมันเบนซิน 95 ดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91, 95 และก๊าซธรรมชาติ (NGV) ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.24 นอกจากนี้หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (แชมพู กระดาษชำระ โฟมล้างหน้า) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.01 จากการสูงขึ้นของค่าเช่าบ้าน หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (เสื้อเด็ก กางเกงเด็ก รองเท้าแตะหนังบุรุษ) ขณะที่หมวดบันเทิง การอ่านและการศึกษาฯ ลดลงร้อยละ -0.01 ตามการลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์ สำหรับหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ไม่เปลี่ยนแปลง

2. เทียบเดือนกรกฎาคม 2560 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 1.46 โดยมีการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.02 จากการสูงขึ้นของหมวดข้าวแป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 3.65 (ข้าวสารเจ้า แป้งข้าวเจ้า ขนมจีน) หมวดเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 1.74 (กะทิสำเร็จรูป น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ) อาหารบริโภค-ในบ้านร้อยละ 1.10 (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว) และอาหารบริโภค-นอกบ้าน ร้อยละ1.23 (อาหารเช้า ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง) ขณะที่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.48 (กาแฟ ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) ขณะที่ผักสด ลดลงร้อยละ -5.33 (แตงกวา ผักคะน้า ผักชี) ผลไม้สด ลดลงร้อยละ -2.35 (กล้วยน้ำว้า สับปะรด) ส่งผลให้หมวดผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ -4.88 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ -1.89 (เนื้อสุกร ไก่สด) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ -0.58 (ไข่ไก่ นมข้นหวาน นมถั่วเหลือง)

หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.29 ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 4.40 โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นถึงร้อยละ 13.85 ตามการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทและก๊าซรถยนต์ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.86 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.12 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.54 (ค่าเครื่องแบบนักเรียน) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.55 (แชมพู ยาสีฟัน ค่าแต่งผม) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.28 (ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน)

3. เฉลี่ย 7 เดือนของปี 2561 (ม.ค.- ก.ค. 2561) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.- ก.ค. 2560) (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 1.04 โดยมีการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.22 ตามการสูงขึ้นของหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 1.29 ผักสด ร้อยละ 2.01 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.32 อาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน ร้อยละ 1.24 และ 1.08 ตามลำดับ ส่วนสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ -1.25 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ -1.09 ผลไม้สด ร้อยละ -1.36 และเครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -0.81

หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.52 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 2.16 ตามการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก เคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.27 (ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.20 (เครื่องแบบนักเรียน เสื้อผ้าบุรุษและสตรี) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.51 (ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.45 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.93 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) ขณะที่การสื่อสาร ลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.05

4. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.8 - 1.6 (YoY)

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 4.2 - 4.7 (YoY) (สศช.)

ราคน้ำมันดิบดูไบ H2 65-75 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

ทั้งปี 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

อัตราการแลกเปลี่ยน H2 32 - 34 บาท/เหรียญสหรัฐ

ทั้งปี 32 - 34 บาท/เหรียญสหรัฐ

ราคาสินค้าเกษตร (-7) - (-5) %

การบริโภคภาคเอกชน 3.7 % (สศช.)

การส่งออก สูงกว่า 8.0 %

สถานการณ์และปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อเงินเฟ้อ

อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัว ตามผลผลิตและรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปี 2561 อาจส่งผลดีต่อกำลังซื้อในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2561 ช่วงครึ่งปีหลังมีมากขึ้น

การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก แนวโน้มค่าเงินบาทอ่อนตัว

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแม้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมีความผันผวน

การลงทุนภาครัฐอาจมีขั้นตอนที่อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-5850 โทรสาร. 0-2507-5825


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ