ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกไตรมาสที่ 4/2561

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 25, 2018 14:28 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 4/2561 (ตุลาคม-ธันวาคม) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยดัชนีมีค่า 64.8 และ 61.4 ตามลำดับจากความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 302 ราย มีรายละเอียด ดังนี้

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 4/2561 (ตุลาคม-ธันวาคม) จะดีขึ้นร้อยละ 45.1 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 39.4 และลดลงร้อยละ 15.5 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 4/2561 มีค่าเท่ากับ 64.8 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทาง ที่ดีขึ้น ตามแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ ภาคการส่งออกขยายตัว

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลง ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เนื่องจากคู่แข่งทางการค้าในตลาดต่างประเทศมีมาก

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 4/2561(ตุลาคม-ธันวาคม) จะดีขึ้นร้อยละ 35.2 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 52.5 และลดลงร้อยละ 12.3 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีค่าเท่ากับ 61.4 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูปยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) และเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน โดยได้รับแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันที่ลดลง และกฎระเบียบของประเทศคู่ค้ามากขึ้น

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนกันยายน 2561 เท่ากับ 50.6 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 50.9 แต่ยังมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกยังคงมีมุมมองที่ดีต่อภาวะการส่งออกของไทย และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 302 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนกันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 50.0 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางทรงตัว อย่างไรก็ตามจากผลกระทบของสงครามทางการค้าสหรัฐและจีน รวมถึงเกิดพายุไต้ฝุ่นเชบีที่ญี่ปุ่น และไต้ฝุ่นมังคุดที่ฟิลิปปินส์ เกาะฮ่องกง และจีน ส่งผลให้การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออก ยางพารา น้ำตาลทราย อาหารสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) และเชื้อเพลิงและพลังงาน

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าและชิ้นส่วน

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนกันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 51.9 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าเกษตร ที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เนื่องจากตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง น้ำตาลทราย อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าและชิ้นส่วน

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนกันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 53.9 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป และอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเล แช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ สิ่งทอ เชื้อเพลิงและพลังงาน

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนกันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 46.7 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการผลิต ตามคำสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้าออกไปต่างประเทศมากขึ้น โดยสินค้า คงคลังที่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและ แปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก

ปัญหา
  • ความผันผวนของค่าเงินบาท ส่งผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาทและความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
  • สภาพอากาศที่มีพายุไต้ฝุ่นเชบีที่ญี่ปุ่น และไต้ฝุ่นมังคุดที่ฟิลิปปินส์ เกาะฮ่องกง และจีน ทำให้การขนส่งทางเรือล่าช้าและเสียหายตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) และจำนวนเรือไม่เพียงพอ ต่อการส่งออกสินค้า อีกทั้งผู้ส่งออกเร่งส่งออกสินค้า ทางเรือไปยังประเทศจีน เนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้าก่อนที่จะมีการปรับภาษีนำเข้าสินค้าจีน รวมถึงการส่งสินค้าทางอากาศ ได้รับผลกระทบด้วย
  • ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
  • ค่าแรงและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตาม ทำให้เสียเปรียบในด้านความสามารถในการแข่งขัน
  • มาตรการ DUI สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items) มีขั้นตอนเพิ่มขึ้นจากที่กำหนด
  • ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ และแรงงานไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น
  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ดูแลมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเฉพาะกำแพงภาษีนำเข้าซึ่งจะนำไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้าซึ่งหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งผู้ส่งออกและผู้บริโภค และอาจส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม
  • ขยายตลาดใหม่ให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศลดลง
  • ดำเนินลดการเวลาในการขอเอกสารสิทธิทางภาษีต่างๆ เพื่อให้ประเทศปลายทางนำข้อมูลตรวจสอบการนำเข้าได้รวดเร็วขึ้น

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ