ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนกันยายน 2561 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2561 ที่ระดับ 37.6 มาอยู่ที่ระดับ 38.0 ปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน จากความเชื่อมั่นในอนาคต ขณะที่ความเชื่อมั่นในปัจจุบันทรงตัว ส่วนการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคในปัจจุบัน ลดลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมประจำเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 38.0 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2561 ที่ระดับ 37.6 จากการหางานทำในปัจจุบัน และอนาคตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและอีก 3 เดือนข้างหน้า และความคาดหวังต่อรายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลง โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ อยู่ที่ระดับ 53.9 ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน อยู่ในระดับเดิมจากเดือนที่ผ่านมาที่ 30.9 โดยผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจ ลดลงจากระดับ 37.4 มาอยู่ที่ระดับ 35.4 ขณะที่การหางานทำในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นระดับ 24.4 มาอยู่ที่ระดับ 26.5
+ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.1 มาอยู่ที่ 42.7 โดยภาวะเศรษฐกิจ รายได้ในอนาคต และการหางานทำอีก 3 เดือนข้างหน้า ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 47.8 48.6 และ 29.7 มาอยู่ที่ระดับ 47.7 48.3 และ 32.2 ตามลำดับ
สำหรับระดับความเชื่อมั่นด้านต่าง ๆ ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ ในเดือนนี้เทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.9 มาอยู่ที่ 53.0 แต่ยังสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพในเดือนนี้เทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.2 รวมทั้ง แผนการซื้อรถยนต์ และสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวดีขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 14.5 และ 22.5 มาอยู่ที่ระดับ 15.6 และ 22.7 ตามลำดับ
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1. ราคาสินค้า และภาษีสินค้าต่างๆ ที่แพงเกินไป รวมทั้งกำหนดราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อไม่ให้ขายเกินราคาที่ควรจะเป็น
2. แก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรให้ดีขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา รวมทั้งพื้นที่ทำกินและการพักชำระหนี้กับธนาคาร
3. กระตุ้นเศรษฐกิจทั่วไป และเศรษฐกิจระดับล่างให้ดีขึ้น แก้ไขปัญหาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา
4. แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
5. ลดค่าครองชีพ
6. กระจายรายได้ การกระจายงานไม่ให้กระจุกอยู่ตามเมืองใหญ่
7. พัฒนาการท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติ
8. สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนต่างประเทศและในประเทศ
9. การเงินการธนาคาร
10. การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
11. การสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติ
12. การสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กด้านการลงทุนให้ดำเนินการต่อไปได้ ไม่ใช้มีแต่นโยบายแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้
13. ออกนโยบายสนับสนุนให้คนในประเทศใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
14. แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลางที่ค้ากำไรเกินควร ทำให้มีผลกระทบตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค
15. แก้ไขปัญหาและสนับสนุน SME
1. แก้ไขปัญหาการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยการจัดหางานให้สำหรับผู้ว่างงาน เปิดรับสมัครผู้ด้อยโอกาส เข้าทำงาน และส่งเสริมอาชีพกับคนว่างงาน
2. ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ สร้างความสามัคคี ลดความขัดแย้งทางการเมือง และทำให้ประชาชนมีความสุข
3. ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
4. แก้ปัญหาการคอรัปชั่น
5. เพิ่มอัตราค่าตอบแทนและตำแหน่งงานว่าง
6. เลือกตั้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน
7. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
8. การประมงมีกฎเกณฑ์การออกมามาก ปลามีน้อย ชาวประมงเริ่มตกงาน
9. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อการเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
10. แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th