ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกไตรมาสที่ 1/2562

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 25, 2018 14:25 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 1/2562 (มกราคม-มีนาคม) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยดัชนีมีค่า 62.4 และ 61.7 ตามลำดับจากความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 301 ราย มีรายละเอียด ดังนี้

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1/2562 (มกราคม-มีนาคม) จะดีขึ้นร้อยละ 40.7 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 43.4 และลดลงร้อยละ 15.9 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 1/2562 มีค่าเท่ากับ 62.4 ปรับลดลงจากไตรมาสที่ 4/2561 ที่ระดับ64.8 แสดงว่าผู้ส่งออกยังคงมีมุมมองว่าการส่งออกจะมีทิศทางที่ดี แต่อาจจะขยายตัวได้ชะลอลง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ยังไม่ชัดเจนและแนวโน้มการแข่งขันทางการค้าที่เข้มข้นมากขึ้น

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและพลังงาน

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลง ได้แก่ อาหารทะเลแช่เยือกแข็งอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ จึงทำให้ผลิตเพื่อการส่งออกได้น้อยลง

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 1/2562(มกราคม-มีนาคม) จะดีขึ้นร้อยละ 36.9 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 49.7 และลดลงร้อยละ 13.4 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีค่าเท่ากับ 61.7 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและพลังงาน

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 เป็นช่วงที่พื้นที่ ส่วนใหญ่ใกล้หยุดกรีดยาง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบจึงทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนธันวาคม 2561 เท่ากับ 43.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 46.4 และมีค่า ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกของไทยชะลอตัวลง และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 301 ราย มีรายละเอียด ผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนธันวาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 39.8 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางปรับลดลง สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำตาลทราย ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เนื่องจากลูกค้าสั่งซื้อและสต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าเพื่อผลิตและขายช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อีกทั้งจำนวนเรือไม่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้า และได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนธันวาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 41.4 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำตาลทราย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เนื่องจากอุตสาหกรรม ทั่วโลกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ทำให้ความต้องการของตลาดต่างประเทศลดลง และมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง น้ำตาลทราย สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์)เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนธันวาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 49.3 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกชะลอตัว โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน จากความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจโลกและการแข่งขันที่สูงขึ้น

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าและชิ้นส่วน

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนธันวาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 43.1 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อและวัตถุดิบบางชนิดมีราคาสูงขึ้น

สินค้าคงคลังที่ ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์)เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูปและเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก และเคมีภัณฑ์

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก

ปัญหา
  • ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ เพื่อรอดูแนวโน้มตลาดโลก
  • สกุลเงินของลูกค้าอ่อนค่า จึงทำให้ต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาตามต้นทุนของบริษัท และความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
  • การขนส่งทางเรือโดยตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) จำนวนเรือไม่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้า การจองเรือ ยากขึ้น บริเวณท่าเรือคลองเตยและแหลมฉบังมีสภาพที่แออัด ทำให้ลูกค้าไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามที่กำหนดไว้
  • ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
  • มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) ในหมวดสินค้าเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
  • ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และแรงงานไร้ฝีมือในกลุ่มอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง (กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง) โดยเฉพาะแรงงานไทย
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีผลกระทบในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ ทำให้ Supply จีนเข้าอาเซียนมากขึ้น
  • กฎระเบียบการนำเข้าระหว่างประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องครัวแสตนเลส
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้มากขึ้นในอาเซียน และผลักดันให้นำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างถูกต้อง
  • เจรจากับประเทศคู่ค้าในอาเซียนไม่ให้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรและอะไหล่เพื่อการเกษตร
  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ดูแลมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเฉพาะกำแพงภาษีนำเข้า ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ