ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เท่ากับ 101.95 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1. เดือนมกราคม 2562 (MoM) สูงขึ้น 0.24 2. เดือนกุมภาพันธ์ 2561 (YoY) สูงขึ้น 0.73 3. เฉลี่ย 2 เดือน ปี 2562 (AoA) สูงขึ้น 0.49
(ม.ค. - ก.พ. 2562)/(ม.ค. - ก.พ. 2561)
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2562 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.73 (YoY) สูงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา (เดือนมกราคม 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.27) การสูงขึ้นของเงินเฟ้อดังกล่าวอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีเสถียรภาพ โดยมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างเฉลี่ย และรายได้เกษตรกร ที่ขยายตัวตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นคือสินค้ากลุ่มอาหารสด ที่สูงขึ้นร้อยละ 2.64 รวมทั้งการปรับขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีราคากลุ่มพลังงานติดลบน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยปรับลดลงร้อยละ 0.90 จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 3.51 ในขณะที่ราคาผลผลิตการเกษตรบางชนิด เช่น ผลไม้สด ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.60 (YoY)
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า ปี 2562 เงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2561 ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.2)
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนกุมภาพันธ์ 2562 เทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.24 (MoM) (มกราคม 2562 ลดลงร้อยละ -0.02) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.15 จากการสูงขึ้นของกลุ่มอาหารสด ร้อยละ 0.42 โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 1.37 ตามการสูงขึ้นของไก่สด เป็ดพะโล้ ปลาน้ำจืด (ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน) ผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 1.32 จากการสูงขึ้นขององุ่น เงาะ ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูกาลของผลไม้บางชนิด ประกอบกับความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 0.16 ตามการสูงขึ้นของข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียวเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.14 จากการสูงขึ้นของไข่ไก่ นมสด ครีมเทียม นมผง ขณะที่ผักสด ลดลงร้อยละ -3.28 ตามการลดลงของ ผักชี ผักคะน้า ผักบุ้ง ส่งผลให้หมวดผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ -0.75 เครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ -0.43 ตามการลดลงของ น้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.12 ตามการลดลงของ กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสชอกโกแลต และอาหารบริโภค-ในบ้าน ลดลงเล็กน้อยร้อยละ -0.02 ส่วนอาหารบริโภค-นอกบ้านดัชนีราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.30 ตามการสูงขึ้นของกลุ่มพลังงาน ร้อยละ 1.67 จากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.58 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซยานพาหนะ (LPG) นอกจากนี้ ค่าโดยสารสาธารณะ ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.04 (ค่าโดยสารเครื่องบิน) ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.81 นอกจากนี้ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.20 ตามการสูงขึ้นของกางเกง เสื้อผ้าบุรุษและสตรี ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ -0.15 อาทิ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยารีดผ้า หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา ลดลงร้อยละ -0.01 ขณะที่หมวดเคหสถาน หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
2. เทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2561 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.73 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.89 โดยเฉพาะข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 5.15 ตามการสูงขึ้นของข้าวสารเจ้า ขนมอบ ขนมปังปอนด์ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 4.50 (เนื้อสุกร ปลาทู ปลานิล) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 2.06 (ไข่ไก่ นมผง นมสด) เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 2.62 (น้ำพริกแกง เครื่องปรุงรส กะปิ) อาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน ร้อยละ 0.75 และ 1.84 ตามลำดับ (ข้าวราดแกง อาหารเช้า กับข้าวสำเร็จรูป) นอกจากนี้ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.61 (กาแฟ (ร้อน/เย็น) กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม น้ำอัดลม) และผักสด สูงขึ้นร้อยละ 0.42 (ผักกาดขาว มะนาว แตงกวา) ขณะที่ผลไม้ ลดลงร้อยละ -1.25 (ส้มเขียวหวาน มะม่วง ลองกอง) ส่งผลให้ผักสดและผลไม้ ลดลงร้อยละ -1.52
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.09 ตามการสูงขึ้นของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 0.58 (เครื่องแบบนักเรียนหญิง/ชาย) หมวดเคหสถาน ร้อยละ 0.68 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ร้อยละ 0.34 (ค่าแต่งผมชาย/สตรี น้ำยาระงับกลิ่นกาย แชมพู) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ร้อยละ 0.29 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.01 ขณะที่หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.66 ตามการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทุกประเภทที่ลดลงร้อยละ -2.23 สำหรับค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 0.38
3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) ปี 2562 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ก.พ. 2561) (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.49 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.62 ตามการสูงขึ้นของข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 5.08 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ขนมอบ ขนมปังปอนด์ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ 3.77 (เนื้อสุกร ปลาทะเล) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 2.19 (ไข่ไก่ นมผง) เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 2.39 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.75 ส่วนอาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.84 และ 1.94 ตามลำดับ ขณะที่ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ -2.97 (มะเขือ ถั่วฝักยาว กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน)
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.14 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ -1.29 โดยน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -4.17 และการสื่อสาร ร้อยละ -0.05 ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 0.36 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.40 หมวดเคหสถาน ร้อยละ 0.72 (ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.50 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.29 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.01
คาดการณ์เงินเฟ้อ ปี 2562 อยู่ระหว่าง 0.7 - 1.7 (YoY) (ค่ากลาง 1.2)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.5-4.5 % (YoY) (สศช.)
ราคาน้ำมันดิบดูไบ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
อัตราแลกเปลี่ยน 32.5 -33.5 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
ราคาพลังงาน ยังคงมีความเสี่ยงจากความผันผวนในโครงสร้างการผลิตและความต้องการโลก รวมทั้งบริบททางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง
การลงทุน มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีสัญญาณจากความคืบหน้าการลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ความต่อเนื่องของโครงการลงทุนเดิมที่ยังไม่แล้วเสร็จ และการขอรับการส่งเสริมการลงทุนโครงการต่าง ๆ แต่ยังมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ตามแผน
ราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังคงมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
ราคาสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมหลายตัวที่ผลิตในประเทศมีสัญญาณต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการนำเข้า
การส่งออก น่าจะขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับโอกาสในการย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออกหลายชนิดมายังประเทศไทยยังมีอยู่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อกำลังซื้อในประเทศ
ค่าเงินบาท มีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงปริมาณเงินทุนไหลเข้าในประเทศ
ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 02-5076554 โทรสาร 02-5075806
http://www.price.moc.go.th